กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันแข็งแรงทุกกลุ่มวัย
รหัสโครงการ 52816001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริยา หาดดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 163 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 49 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปี ๒๕๕๔ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีนโยบายการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปากโดยการบริหารจัดการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพช่องปากระดับจังหวัดให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ สร้างการมีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมายหลักหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนกลุ่มเด็กวัยก่อนเรียน โดยผ่านการพิจารณา ควบคุม กำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับอำเภอ และจังหวัด ปัญหาโรคในช่องปากยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญโดยเฉพาะโรคฟันผุและโรคปริทันต์ ซึ่งยังคุกคามสุขภาพช่องปากของประชาชนทั้งประเทศทำให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน แม้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชน แม้ว่าการป้องกัน ควบคุมโรคในช่องปากยังคงดำเนินการต่อเนื่องแต่ก็ไม่สามารถลดโรคลงได้
ซึ่งถ้าได้ดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเริ่มจากหญิงตั้งครรภ์ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นการเฝ้าระวังตั้งแต่เนิ่น โดยในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์จะทำการดูแลตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์โดยดูแลสุขภาพช่องปากตัวเองให้ปราศจากฟันผุ ทำการย้อมสีฟัน และดูและฟันและเหงือกของลูกตั้งแต่คลอดจนกระทั่งเข้าเรียน ในกลุ่มผู้ปกครองจะต้องดูและสุขภาพช่องปากของลูกช่วยลูกแปรงฟัน ส่วนในกลุ่มผู้สูงอายุ จะเริ่มมีฟันผสมคือฟันปลอมกับฟันแท้หรือไม่ก็จะเป็นฟันปลอมทั้งปาก และฟันคู่สบจะเหลือน้อย ซึ่งจะต้องดูแลให้ผู้สูงอายุมีฟันคู่สบไว้เคี้ยวอาหารเพื่อการมีสุขภาพจิตที่ดีในการดำเนินชีวิต
จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๔๙ -๒๕๕๐ พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี ซึ่งเพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบมีฟันผุแล้วร้อยละ ๖๑.๓๗ โดยเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอนเป็น ๓.๒๑ ซี่ต่อคนและเมื่ออายุ ๕ ปี มีฟันผุเพิ่มเป็นร้อยละ ๘๐.๖๔ โดยเฉลี่ยฟันผุอุดถอนเป็น ๕.๔๓ ซี่ต่อคน ฟันน้ำนมที่ผุเกือบทั้งหมดยังอยู่ในสภาพผุที่ไม่ได้รับการรักษา จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของจังหวัดสตูล ปี ๒๕๕๓ พบว่าพบว่าเด็กอายุ ๓ ปี มีฟันผุร้อยละ ๓๔.๙๕ อัตราการสูญเสียฟันน้ำนมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
การติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรคในช่องปากและประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายควนกาหลง ๒๕๕๗ พบว่ากลุ่มเด็ก ๑๘ เดือน ปราศจากฟันผุ ร้อยละ ๘๓.๐๒ ส่วนเด็กอายุ ๓ ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ๒๖.๘๓ ซึ่งลดลงจากเด็กอายุ ๑๘ เดือนค่อนข้างมาก จากการเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรคในช่องปากของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย ปี ๒๕๕๙ พบว่าอัตราการปราศจากฟันผุในเด็กอายุ ๓ ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คิดเป็นร้อยละ๒๕ อัตราการผุ ถอน อุด ๓.๙๕ ซี่ต่อคน
ในช่วงหญิงตั้งครรภ์จะเกิดภาวะเสี่ยงต่อฟันผุมาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายทำให้การดูแลความสะอาดฟันค่อนข้างต่ำและเสี่ยงมาก ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองและรับบริการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาให้ทันเวลา ซึ่งถ้าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะฟันผุมากจะส่งผลต่อการเกิดฟันผุของลูกที่จะเกิดมา ในช่วงเด็กวัยแรกเกิดและกลุ่มวัยก่อนเรียนที่ยังอยู่ในการดูแลของผู้ปกครองสามารถให้ผู้ปกครองดูแลได้โดยการใช้ถุงนิ้วในการเช็ดปากให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด และเมื่อมีฟันโผล่พ้นช่องปากเมื่ออายุ ๖-๙ เดือน ก็จะต้องได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช และการแปรงฟันโดยผู้ปกครอง ส่วนในช่วงกลุ่มเด็กอายุ ๓เป็นช่วงที่มีฟันน้ำนมครบ ๒๐ ซี่ ซึ่งเด็กช่วงวัยก่อนเรียนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเป็นการง่ายที่จะส่งเสริมให้ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กซึ่งการแปรงฟันเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันโรคฟันผุ และการทาฟลูออไรด์วานิชเป็นการป้องกันที่ได้ผลดีและจะส่งผลดีต่อการที่ฟันแท้ซี่แรกที่จะขึ้นต่อไป ในช่วงวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่การมีฟันเคี้ยวอาหารน้อยกว่า ๒๐ ซี่ และฟันคู่สบน้อย จะต้องมีการส่งเสริมและป้องกันฟันที่เหลืออยู่ในช่องปากให้ใช้งานได้ จากเหตุผลดังกล่าวทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยจึงได้จัดทำโครงการฟันแข็งแรงทุกกลุ่มวัย ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจฟันและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองได้แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

 

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจฟันและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นวางแผนและเตรียมงาน ๑.๑จัดประชุมคณะทำงานงาน ๑.๒เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๒.ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมกลุ่มที่ ๑ (กลุ่มหญิงตั้งครรภ์) ๑.ตรวจช่องปากหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก ๒.ให้ความรู้สอนการแปรงฟัน ๓.ย้อมสีฟันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟัน ๔.สอนและสาธิตวิธีการเช็ดเหงือกในเด็กแรกเกิด (เมื่อหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์๓๒ สัปดาห์)

กิจกรรมกลุ่มที่ ๒ (กลุ่มผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ๑.ตรวจฟันเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครอง ๓.ย้อมสีฟัน ๔.ให้ผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูก ๕.ทาฟลูออไรด์วานิชในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

กิจกรรมกลุ่มที่ ๓ (กลุ่มผู้สูงอายุ) ๑.ตรวจฟันผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ๒. สอนให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพช่องปาก ๓. ย้อมสีฟันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟัน

๓. ขั้นประเมินผล ๑. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองตรวจฟัน ร้อยละ๘๕ ๒. ผู้ปกครองได้แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ ๖๐ ๓. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองตรวจฟัน ร้อยละ ๙๐

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองตรวจฟัน ร้อยละ ๘๕ ๒. ผู้ปกครองได้แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ ๖๐ ๓. ผู้สูงอายุในชมรมฯ ได้รับการคัดกรองตรวจฟัน ร้อยละ ๙๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2560 10:37 น.