กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเตรียมพร้อมรับมือ ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 52816001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไลล่า บินตะสอน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 162 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 107 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หนึ่งลดลงหรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในชนบทและครอบครัวที่มีฐานะยากจนพบเป็นเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่ถูกต้อง ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของร่างกายและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยอยู่ถึงร้อยละ 3 ทำให้เด็กมีร่างกายและสมองพัฒนาได้ช้ากว่าวัยนอกจากนี้ยังพบอีกว่า สุขภาพของเด็กเป็นผลกระทบโดยตรงจากสุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์และโรคทางพันธุกรรมหลายโรค มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคธาลัธซีเมียมีแนวโน้มสูงขึ้นมีเด็กและผู้ป่วยด้วยโรคนี้ถึงร้อยละ 33.63 โรคฮีโมพีเลีย โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ก็ยังมีเด็กเป็นโรคนี้อยู่อีกมากถึงร้อยละ 5 จึงเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับความเอาใจใส่ดูแลและแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีและเป็นกำลังของชาติที่สมบูรณ์ต่อไป รวมทั้งการให้ความรู้แก่มารดาขณะตั้งครรภ์ให้ระวังสุขภาพของตนเองและสุขภาพของลูกในครรภ์พร้อมกันเพื่อให้สุขภาพทั้งของมารดาและทารกพัฒนาไปอย่างสมบูรณ์พร้อมกันทั้งร่างกายและจิตใจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคุณภาพของเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นได้จากการเห็นความสำคัญของเด็กโดยให้ความสำคัญอย่างจริงจังตั้งแต่การตั้งครรภ์ของแม่และการดูแลครรภ์ที่ถูกต้องระหว่างตั้งครรภ์ถือเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพของแม่ท้องในช่วงตั้งครรภ์ ที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์ พัฒนาการที่ดีของลูกในครรภ์ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีของแม่และลูกนับตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด6 และเพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างมีพัฒนาการที่ดีแม่ตั้งครรภ์ควรใส่ใจดูแลตัวเองในเรื่องหลักๆ ดังนี้คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสมการกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์ และที่ขาดไม่ได้คือการใส่ใจกับการฝากครรภ์ เพราะจะได้รับการตรวจร่างกายและคำ แนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง การติดตามการเจริญเติบโตและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กในครรภ์ และเพื่อให้เด็กคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงปลอดภัยนอกจากการใส่ใจกับการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และการได้รับการฝากครรภ์ ยังพบว่าอายุของแม่ขณะตั้งครรภ์ การได้รับยาบำรุงครรภ์ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ โรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนและการเชื้อของแม่ขณะตั้งครรภ์ก็มีผลต่อภาวะแรกเกิดของทารกอันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตต่อไป เช่น แม่ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และยังไม่เคยมีบุตรมีความเสี่ยงต่อการคลอดทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยการได้รับยาบำรุงขณะตั้งครรภ์โดยเฉพาะไอโอดีนที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาทถ้าระหว่างตั้งครรภ์แม่ไม่ได้รับหรือได้รับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้ทารกมีสติปัญญาลดลงก่อให้เกิดภาวะสมองพิการและหูหนวกได้9 จากการวิจัยพบว่าเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ขาดไอโอดีนจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่ไม่ขาดสารไอโอดีน 6.9 - 10.2และจากการสำรวจสถานการณ์ไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ปี 2552 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ขาดสารไอโอดีน ร้อยละ 52.51 ส่วนพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์กับการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ พบว่า จะก่อให้เกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติบริเวณใบหน้า แขน ขา และการเจริญเติบโต รวมทั้งปัญหาทางด้านพฤติกรรมและความสามารถทางสติปัญญา ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศพบว่าจะเกิดกลุ่มอาการผิดปกติของทารกในครรภ์ที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ของหญิงตั้งครรภ์ทั่วโลก ประมาณ 9 รายต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน และระหว่างตั้งครรภ์แม่มีโรคประจำตัว ได้รับเชื้อหรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เช่น เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำหนักตัวมากหรือน้อยกว่าปกติ และการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด เป็นต้น ซึ่งการติดเชื้อของทารกในช่วงปริกำเนิดที่สำคัญ ได้แก่เอชไอวี หัดเยอรมัน เชื้อสุกใส Cytomegalovirus (CMV) และ Toxoplasmosis เป็นต้น ซึ่งเชื้อบางชนิดก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบประสาทและก่อให้เกิดความพิการต่อทารกได้จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้พบว่าการฝากครรภ์ ภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อและพฤติกรรมของแม่ขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ต่อภาวะแรกเกิดของทารก สามารถทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย คลอดก่อนกำหนด ขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิด และมีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดซึ่งสิ่งดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กตามมา โดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยจึงจัดทำโครงการ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ของแม่ที่มีผลต่อภาวะแรกเกิดของทารก เพื่อในการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อทำให้เด็กไทยเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการป้องกันเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

 

2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความความรู้ในการป้องกันเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

 

3 เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 ส.ค. 60 - 25 ก.ค. 60 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ 162 18,700.00 18,700.00
26 ส.ค. 60 - 26 ก.ค. 60 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี 107 13,200.00 13,200.00
รวม 269 31,900.00 2 31,900.00

๑. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ๒. วางแผนและเตรียมงาน ๓. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๔. ประสานงานและชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง ๕. ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ

วันที่ 25สิงหาคม2560อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์

วันที่ 26 สิงหาคม2560อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี

๖. ประเมินผลโครงการ ๗. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้การป้องกันภาวะเสี่ยงก่อนและขณะตั้งครรภ์ร้อยละ ๘๐ ๒.หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการป้องกันภาวะเสี่ยงก่อนและขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ ๘๐ ๓. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2560 11:22 น.