กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมเบาหวานความดันในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย รพ.สต.ปากน้ำ
รหัสโครงการ 64-L5312-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2565
งบประมาณ 77,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารัญย์ มัจฉา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 310 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้น
123.00
2 อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น
59.00
3 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นแผลที่เท้า การพร่ามัว ไตวาย
3.20
4 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันเบาหวานเพิ่มขึ้น
96.78
5 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มข้น
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ)สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น กลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติ ของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2561 พบอัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปีพ.ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกได้แก่ โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือดคิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อผ่านแผนปฏิบัติการต่างๆดังจะเห็นได้จากการมีแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติที่มีการดำเนินงานทั้งในภาพรวมของโรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยงเฉพาะร่วมกับการมีแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ5 ปี(พ.ศ.2560-2564)สอดคล้องภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน เพื่อให้ประชากรในประเทศมีสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น

กลุ่มโรคเรื้อรังนี้มีปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมร่วมที่สำคัญ ได้แก่ การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ความเครียดเรื้อรัง และปัจจัยเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน จากการคัดกรองติดตามภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.ปากน้ำในงบประมาณ 2564 พบจำนวนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน 356 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.18 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 204 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.16 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2563 จากร้อยละ 12.4 และ 7.05 ตามลำดับ จากการสำรวจคัดกรองประชาชนในหมู่ที่ 4 บ้านตะโละใส ปีงบประมาณ 2564 พบว่ามีประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน 251 ราย และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 90 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงอย่างมาก มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 122 ราย เพิ่มจากปีงบประมาณ 2562 จาก 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 123.23 และผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 28 ราย ปีงบประมาณ 2562 จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.32โดยผู้ป่วยรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

ในกลุ่มป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่สามารถป้องกันและควบคุมได้ ด้วยการเรียนรู้เรื่องโรคและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยหรือผู้มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ ไม่สามารถควบคุมอาหาร ได้ น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มากจากตัวผู้ป่วยเอง ขาดแรงกระตุ้น แรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งหยุดการรับประทานยาเอง เนื่องจากรู้สึกเบื่อและคิดว่าไม่มีอาการผิดปกติน่าจะหายจากโรคแล้ว จึงเป็นปัญหาที่ต้องหาทางช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข ผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ ปี 2563 ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 124 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 70-130 mg/dl ได้ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 17.74 และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 234 คน ควบคุมระดับความดันโลหิต < 140/90 mmHg ได้ จำนวน106 คน คิดเป็นร้อยละ 45.29 และจากข้อมูลการเจ็บป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองของตำบลปากน้ำปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 25 ราย ซึ่งเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง
จากการดำเนินงานคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ พบว่า เมื่อผู้ป่วยมารับบริการในคลินิก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องงดน้ำและอาหารเพื่อเจาะระดับน้ำตาลในเลือด จะรีบเร่งในการกลับบ้านโดยไม่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเรื่องผลการตรวจหรือวิธีการปฏิบัติตัวที่เกี่ยวกับโรค ทำให้ไม่มีเวที/สถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรค

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมภาวะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย รพ.สต.ปากน้ำ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ เสริมสร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักในการลดการเกิดโรครายใหม่และควบคุมโรคเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมโรคอย่างเหมาะสม

ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรค

0.00 80.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง สามมารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 20

20.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง สามมารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตสูง

40.00
4 4.ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังไม่เกินร้อยละ 10

10.00
5 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ม.4 บ้านตะโละใส ได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ม.4 บ้านตะโละใส ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

13.18 50.00
6 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ม.4 บ้านตะโละใส มีพฤิกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ร้อยละของกลุ่มเสียง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ตามแบบสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ ของกองสุขศึกษา

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 77,005.00 0 0.00
1 - 20 มี.ค. 64 1.ประชุมชี้แจงคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 0 455.00 -
21 มี.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง ม.4บ้านตะโลใส 0 23,750.00 -
1 เม.ย. 64 - 28 ก.พ. 65 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมเบาหวานความดันในกลุ่มป่วย 0 52,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยมีแรงบันดาลใจและความตระหนักในการควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้ด้วยตนเอง
  2. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตในอยู่ในภาวะปกติ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจในการรับบริการที่เข้าถึงวิถีชุมชนทำให้การบริการที่สะดวก ที่มีการดูแลแบบใกล้บ้านใกล้ใจ
  4. กลุ่มเสียงโรคเรื้อรังได้รับความรู้และได้รับก่ารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 10:51 น.