กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว
รหัสโครงการ 64-L5295-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะบัน สำนักพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,99.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุได้มีการเพิ่มอย่างรวดเร็ว ทั้งในเชิงขนาดและสัดส่วน โดยในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้สูงอายุ ร้อยละ 17.50 และในปี 2563 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก ในอนาคตอันใกล้ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีกมาก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ตำบลป่าแก่บ่อหิน รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน 595 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 2,132 คน ข้อมูลผู้สูงอายุทั้งหมด 241 คน คิดเป็นร้อยละ 11.36 ของประชากรทั้งหมด มีผู้สูงอายุติดสังคม 234 คน ร้อยละ 97.09 ติดบ้าน 7 คน ร้อยละ 2.99 ในกลุ่มผู้สูงอายุจะปัญหาสุขภาพหลายด้าน ได้แก่ เสี่ยงความดันโลหิตสูง 29 คน ร้อยละ 12.03 เสี่ยงเบาหวาน 15 คน ร้อยละ 6.22 สุขภาพช่องปากผิดปกติ 48 คน ร้อยละ 19.91 น้ำหนักเกินเกณฑ์ 79 คน ร้อยละ 32.78 ซึ่งจะเห็นได้ว่า กลุ่มวัยดังกล่าว ที่ยังเข้าไปไม่ถึงบริการ จะได้มีการพัฒนาศักยภาพทั้งผู้สูงอายุ ให้สามารถดูแลประเมินสภาพปัญหาและดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง โดยมีการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในการส่งเสริมสุขภาพ น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้สูงอายุ ดังนั้นโครงการนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยมีบุคลากรสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและรับรู้สถานการณ์สุขภาพและความเสี่ยงด้านสุขภาพ

. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุประเมินสุขภาพตัวเองหรือประเมินร่วมกับเจ้าหน้าที่ได้ถูกต้อง

100.00
2 .เพื่อพัฒนาทักษะ กาย ใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพดี

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 15,950.00 3 15,950.00
10 - 28 ก.พ. 64 จัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Individual Wellness Plan)รายบุคคล ตามแบบคัดกรองประเมินภาวะสุขภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแกนนำเป็นพี่เลี้ยง 30 3,750.00 -
16 ก.พ. 64 - 30 เม.ย. 64 อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุและแกนนำ 70 10,900.00 -
5 มี.ค. 64 จัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี 0 0.00 3,750.00
30 มี.ค. 64 ประเมินผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 1,300.00
1 - 31 ก.ค. 64 ประเมินผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 40 1,300.00 -
7 ก.ค. 64 อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุและแกนนำตามแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี 0 0.00 10,900.00

ขั้นตอนการวางแผน 1.จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.ชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.จัดตั้งคณะกรรมการ 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.ดำเนินกิจกรรมตามแผน 6. ประเมินผลโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ประสานความร่วมมือจาก อสม. แกนนำผู้สูงอายุ เขียนแผนส่งเสริมสุขภาพดีของผู้สูงอายุรายบุคคล โดยกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ ,กำหนดแนวทางปฏิบัติและลงมือทำตามแผนที่เขียนไว้ 2.อบรมพัฒนาองค์ความรู้ผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครประจำครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ในเรื่องสมองดี ,โภชนาการ,สุขภาพช่องปาก,สิ่งแวดล้อม,การเคลื่อนไหวและมีความสุข 3.ฝึกปฏิบัติการประเมินสุขภาพอย่างง่ายด้วยตนเองตาม 6 องค์ประกอบ 4.ประเมินติดตามว่าผู้สูอายุสามารถทำตามแผน และทำกิจกรรมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมสรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงทำความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ ประเมินและตัดสินใจ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 11:26 น.