กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักปลอดสารลูกหลานปลอดภัย
รหัสโครงการ 64-L5166-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดเลียบ
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,352.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกษร คงชะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดินันต์ ยามาสัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วันที่ (7พ.ค.2560) นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา กล่าวว่า หลังจากมีการร้องเรียนว่าชาวบ้าน นำดินดำคล้ายขี้เถ้าจากโรงงาน มาถมในพื้นที่ ต.โคกม่วง และ ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา และเมื่อมีฝนตกต่อเนื่อง จะชะล้างดินลงลำรางสาธารณะ ทำให้น้ำเปลี่ยนสี ซึ่งสอดคล้องกับปัจจุบันในอำเภอคลองหอยโข่งมีการเช่าที่ดินปลูกผักเป็นจำนวนมากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าในการปรุงอาหารในแต่ละวันผักที่ซื้อมามีเส้นทางการขนส่งจากไหน อย่างไร แต่ผักและอาหารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสมองของนักเรียนจำเป็นต้องได้รับอาหารที่ปลอดภัย ดังนั้นทางโรงเรียนวัดเลียบจึงได้จัดทำโครงการผักปลอดสารลูกหลานปลอดภัยขึ้น เพื่อการจัดการอาหารกลางวันในโรงเรียน นอกจากนักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่ปลอดภัยแล้ว ยังทำให้เกิดกองทุนหมุนเวียนในโรงเรียน ครูและชุมชนได้ประสานความร่วมมือ ส่งเสริมนักเรียนให้ได้มีความรู้พื้นฐานด้านงานเกษตรสามารถรู้จักพึ่งตนเองได้ แบบยั่งยืนเป็นการปฏิบัติจริงตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

45.00 80.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ

นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ

60.00 100.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้มีกองทุนหมุนเวียน

เกิดกองทุนหมุนเวียนในโรงเรียน

0.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อส่งเสริมให้มีกองทุนหมุนเวียน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

28 พ.ค. 64 1 อบรมเชิงปฏิบัติการสุขอนามัยและภาวะโภขนาการ 2. 18,630.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการสุขอนามัยและภาวะโภขนาการ
1. ประชุมคณะครูชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ติดต่อประสานงานทางโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง เพื่อขอบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ 3. แจ้งนักเรียน แม่ครัว คณะครูและเจ้าหน้าที่ รับทราบ วัน เวลา สถานที่ ประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง 4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียน และ แม่ครัว
5. จัดทำโฟมบอร์ดรณรงค์เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร 6. ให้รางวัลนักเรียนที่มีได้รับคัดเลือกจากการคัดเลือกของเจ้าหน้าที่ 7. ลงพื้นที่บริเวณโรงเรียนเพื่อฝึกปฏิบัติจริง 8. สรุปผลการจัดกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ผักปลอดสารลูกหลานปลอดภัย
1. ประชุมคณะครูชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. แจ้งนักเรียน คณะครูและเจ้าหน้าที่ รับทราบ วัน เวลา สถานที่ ประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง 3. แบ่งกลุ่ม และพื้นที่รับผิดชอบ 4. ชี้แจง และแนะนำ วิธีการปลูก การดูแลรักษา
5. วิเคราะห์พืช-ผักที่เหมาะสมตามฤดูกาล 6. ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง ดูแลรักษา ต่อยอด 7. ขายผลผลิต 8. สรุปผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ร้อยละ 95 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นในการปลูกผักที่เหมาะสมกับสภาพดินและพื้นที่ ๒.ร้อยละ 100 นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการและบริหารจัดการพื้นที่ได้สวยงาม 3.ร้อยละ 100 โรงเรียนมีกองทุนหมุนเวียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2564 00:00 น.