กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผักปลอดสารลูกหลานปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

โรงเรียนวัดเลียบ

โรงเรียนวัดเลียบ หมู่ที่3 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วันที่ (7พ.ค.2560) นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา กล่าวว่า หลังจากมีการร้องเรียนว่าชาวบ้าน นำดินดำคล้ายขี้เถ้าจากโรงงาน มาถมในพื้นที่ ต.โคกม่วง และ ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา และเมื่อมีฝนตกต่อเนื่อง จะชะล้างดินลงลำรางสาธารณะ ทำให้น้ำเปลี่ยนสี
ซึ่งสอดคล้องกับปัจจุบันในอำเภอคลองหอยโข่งมีการเช่าที่ดินปลูกผักเป็นจำนวนมากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าในการปรุงอาหารในแต่ละวันผักที่ซื้อมามีเส้นทางการขนส่งจากไหน อย่างไร แต่ผักและอาหารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสมองของนักเรียนจำเป็นต้องได้รับอาหารที่ปลอดภัย
ดังนั้นทางโรงเรียนวัดเลียบจึงได้จัดทำโครงการผักปลอดสารลูกหลานปลอดภัยขึ้น เพื่อการจัดการอาหารกลางวันในโรงเรียน นอกจากนักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่ปลอดภัยแล้ว ยังทำให้เกิดกองทุนหมุนเวียนในโรงเรียน ครูและชุมชนได้ประสานความร่วมมือ ส่งเสริมนักเรียนให้ได้มีความรู้พื้นฐานด้านงานเกษตรสามารถรู้จักพึ่งตนเองได้ แบบยั่งยืนเป็นการปฏิบัติจริงตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

45.00 80.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ

นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ

60.00 100.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้มีกองทุนหมุนเวียน

เกิดกองทุนหมุนเวียนในโรงเรียน

0.00 1.00

1.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 อบรมเชิงปฏิบัติการสุขอนามัยและภาวะโภขนาการ 2.

ชื่อกิจกรรม
1 อบรมเชิงปฏิบัติการสุขอนามัยและภาวะโภขนาการ 2.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน50 คน ๆละ 25 บาท                       เป็นเงิน  1,250 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 600 x 3 ชั่วโมง                                  เป็นเงิน  1,800 บาท
  • ป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ราคาเมตรละ 150                   เป็นเงิน 450   บาท
  • โฟมบอร์ด ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ขนาด 1X1.2 เมตร ราคา เมตรๆละ 600 เป็นเงิน 750X5         เป็นเงิน 3,750 บาท
      1. การสังเกตสลากอาหาร   2. อาหารซุ่มเสี่ยงมีสารปนเปื้อน
      3. โทษของอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      4. โรคที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ   5. ผลกระทบต่อร่างกาย
  • เมล็ดพันธุ์   ผักบุ้ง  2 กิโลกรัมๆ ละ 40 บาท   = 80   ผักกวางตุ้ง20 ซองๆละ25 บาท    = 500   ผักคะน้า20 ซองๆละ25 บาท       = 500   ผักปูเล10 ซองๆละ50 บาท         = 500
  • กระถางดินเผาขนาดกว้าง12” 20 ใบๆละ   150 บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท
  • กระถางปูนเปลือย ขนาดสูง 40x40 ซ.ม. 20 ใบๆละ220 บาท        เป็นเงิน 4,400 บาท
  • กระถางปูนเปลือยรางขนาดสูง 25x100x25ซม.2 ใบๆละ 450 บาท         เป็นเงิน  900  บาท ดินผสม  30 กระสอบๆ ละ 30
                                     เป็นเงิน 900  บาท ปุ๋ยขี้ไก่แกลบ 30กระสอบๆละ 20 บาท                                  เป็นเงิน  600  บาท รวม 18,630 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2564 ถึง 28 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,630.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ร้อยละ 95 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นในการปลูกผักที่เหมาะสมกับสภาพดินและพื้นที่
๒.ร้อยละ 100 นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการและบริหารจัดการพื้นที่ได้สวยงาม
3.ร้อยละ 100 โรงเรียนมีกองทุนหมุนเวียน


>