กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารในชุมชน
รหัสโครงการ 64-63069-10(2)-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 7 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 12,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นายมามะ หะยีสามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโละปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.76923,101.200796place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร ผ่านการทดสอบความรู้จากแบบทดสอบของกรมอนามัย
30.00
2 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร ผ่านการทดสอบความรู้จากแบบทดสอบของกรมอนามัย
30.00
3 ร้อยละของของผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร เข้าร่วมการอบรม
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมดูแลเพื่อคุ้มครองประชาชนด้านสุขลักษณะและอนามัยสิ่งแวดล้อมจาการประกอบกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการควบคุมดูแลจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การสั่งพักใช้เพื่อเพิกถอนใบอนุญาตและผู้ที่จะดำเนินการประกอบกิจการต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากิจกรรมดังกล่าวจะไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรืออันตรายต่อสุขภาพของประชาชนได้แก่ กิจการตลาด ร้านอาหาร ร้านสะสมอาหาร และกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรคและสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมหรือกำกับดูแลการประกอบกิจการดังกล่าว
จากการดำเนินการสำรวจข้อมูลสถานประกอบกิจการในเขตตำบลปุโละปุโย ทั้งหมด 9 หมู่บ้านในปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีร้านค้าทั้งหมด 40 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ร้านขายของชำ ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยหลักแล้วจะเกี่ยวกับด้านอาหารเป็นหลักเพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและตามที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้มีการประกาศให้ร้านอาหาร ปิดกิจการชั่วคราว ได้กลับมาเปิดร้านใหม่อีกครั้ง แต่การเปิดร้านในครั้งนี้จะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนไปกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า New Normalซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติและปรับตัวให้เคยชินภายใต้มาตรการควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันเชื้อโรคและเชื้อไวรัส ได้แก่ มาตรการป้องกันและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง มาตรการการด้านความสะอาดภายในร้าน สุขลักษณะของสถานที่ประกอบอาหาร เตรียมอาหาร และปรุงอาหาร การล้างภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนการดูแลความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสร่วมกัน เป็นต้น ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและ ผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.๒๕๖๑ ตลอดจนประกอบกิจการโดยได้รับใบอนุญาตถูกต้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีบทบาทหน้าที่ ต้องเข้ามาควบคุม กำกับ สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานจัดอบรมผู้ประกอบกิจการและ ผู้สัมผัสอาหาร โดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 มาตรา 50ข้อ (4)ป้องกันและระงับโรคติดต่อและพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล อาศัยอำนาจหน้าที่ตามาตรา 66 ข้อ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อได้ดำเนินการบูรณาการงบประมาณร่วมกันได้แก่ ค่าวิทยากรค่าห้องประชุม ค่าป้ายไวนิล และค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรมให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่อำเภอหนองจิกระหว่างสาธารณสุขอำเภอหนองจิกและองค์กรปกครองในพื้นที่อำเภอหนองจิก เพื่อการควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารและเป็นการสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย

ผ่านการทดสอบความรู้จากแบบทดสอบของกรมอนามัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

20.00 1.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และปฏิบัติได้ตามข้อกำหนด/มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และปฏิบัติได้ตามข้อกำหนด/มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 70

30.00 1.00
3 เพื่อให้มีความรู้เบื้องต้นในขั้นตอนการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร ของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร

ผุ้เข้าร่วมอบรมความรู้เบื้องต้นในขั้นตอนการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร

30.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,750.00 0 0.00
28 ก.พ. 64 จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร 0 5,050.00 -
7 มี.ค. 64 - 7 ก.พ. 64 จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหาร 0 7,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย 2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และปฏิบัติได้ตามข้อกำหนด/มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร 3.ผู้เข้ารับการอบรมความรู้ในด้านสุขาภิบาลอาหาร สุขลักษณะ และสุขอนามัยในกลุ่มผู้สัมผัสอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2564 10:40 น.