กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ปี 2560
รหัสโครงการ 52816001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุชนาฏ หยาหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ซึ่งได้ระบุไว้ในแผนงานอาหารและโภชนาการแห่งชาติมาตั้งแต่ฉบับแรก กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธุ์สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ส่วนหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ ๑๒.๕-๑๕มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ ๐.๔-๐.๕มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ ๐.๕-๑.๐มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาดแผล และการบริจาคโลหิต หากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า และสติปัญญาต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านควนบ่อทอง ปี ๒๕๕๙มีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ ๗.๓๒ ซึ่งถือว่ายังปกติตามเป้าหมายที่กรมอนามัยกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นกว่าเดิมจากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านควนบ่อทองจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงมีครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธุ์ดังนั้นเพื่อลดภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ควรมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในวงกว้างให้ครอบคลุมกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการคัดกรองภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง และสามารถป้องกันเพื่อลดภาวะโลหิตจางเมื่อตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากหญิงหญิงมีครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์เป็นกลุ่มวัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อทารกและเด็กซึ่งเป็นเยาวชนของชาติโดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเองอันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

 

2 เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑.วิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและศึกษาสภาพปัญหาในการดำเนินงาน ๒.จัดทำแผนงานในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา ๓.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ ๔.ดำเนินงานตามโครงการ ๕.ควบคุม กำกับงานตามโครงการ ๖.ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการดำเนินงาน ๑.จัดการประชุมพ่อแม่ที่มีการตั้งครรภ์รายใหม่+รายเก่า เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเป็นพ่อแม่โดยใช้หลักสูตรตามแผนการสอนของโรงเรียนพ่อแม่ และการเข้ารับการฝากครรภ์ให้ครบ ๕ครั้งตามเกณฑ์ ๒.จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้แก่หญิงตั้งครรภ์ทุกคนทั้งในกลุ่มรายใหม่และรายเก่า ๓.จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์และอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในพื้นที่เรื่อง -แนวทางควบคุมป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
-ผลกระทบการขาดธาตุเหล็ก -อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์ได้ และมีความปลอดภัยจาก ภาวะโลหิตจาง ๒.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์และทารกขณะอยู่ในครรภ์และขณะคลอด ๓.หญิงวัยเจริญพันธุ์เกิดความรู้ความเข้าใจ ปรับแนวคิดและให้ความสำคัญในการตื่นตัวต่อการมาฝากครรภ์ เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2560 09:59 น.