กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวปิยามุมัง ร่วมใจ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,196.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม พ.ศ.2563 พบว่าเป็นปีที่มีการระบาดทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยสะสม 71,293 ราย (อัตราป่วยเท่ากับ 107.53 ต่อประชากรแสนคน) มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 51 ราย อัตราตายเท่ากับ 0.08 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อัตราป่วยเท่ากับ 127.60 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ ภาคเหนือ (อัตราป่วยเท่ากับ 122.15 ต่อประชากรแสนคน) ภาคกลาง (อัตราป่วยเท่ากับ 98.73 ต่อประชากรแสนคน) และภาคใต้(อัตราป่วยเท่ากับ 63.15 ต่อประชากรแสนคน) จังหวัดปัตตานี มีรายงานผู้ป่วยสะสม 541 ราย (อัตราป่วยเท่ากับ 57.78 ต่อประชากรแสนคน) มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย อัตราตายเท่ากับ 0.14 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.18สำหรับอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกร้อยละ 107.91 ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สำหรับข้อมูลตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ทั้งหมดจำนวน 55 ราย โดยปี 2559 พบผู้ป่วย 17 ราย ปี 2560 พบผู้ป่วย 23 ราย ปี 2561 พบผู้ป่วย 1 ราย ปี 2562 พบผู้ป่วย 5 ราย และปี 2563 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 9 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จากสถิติการระบาดและจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูง ซึ่งหมายความว่า ตำบลปิยามุมังเป็นตำบลที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,196.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม war room ไข้เลือดออกแก่ทีม SRRT ปิยามุมัง 0 2,000.00 -
??/??/???? กิจกรรม ๒ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 8,696.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ ๓ รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยเครือข่ายสุขภาพตำบล ปิยามุมัง จำนวน 9๐ คน 0 7,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ ๕ ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน 0 2,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
  2. บ้านและโรงเรียนมีค่า HI< 10 และ CI = 0
  3. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 10:59 น.