กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวปิยามุมัง ร่วมใจ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง

ตำบลปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม พ.ศ.2563 พบว่าเป็นปีที่มีการระบาดทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยสะสม 71,293 ราย (อัตราป่วยเท่ากับ 107.53 ต่อประชากรแสนคน) มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 51 ราย อัตราตายเท่ากับ 0.08 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อัตราป่วยเท่ากับ 127.60 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ ภาคเหนือ (อัตราป่วยเท่ากับ 122.15 ต่อประชากรแสนคน) ภาคกลาง (อัตราป่วยเท่ากับ 98.73 ต่อประชากรแสนคน) และภาคใต้(อัตราป่วยเท่ากับ 63.15 ต่อประชากรแสนคน) จังหวัดปัตตานี มีรายงานผู้ป่วยสะสม 541 ราย (อัตราป่วยเท่ากับ 57.78 ต่อประชากรแสนคน) มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย อัตราตายเท่ากับ 0.14 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.18สำหรับอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกร้อยละ 107.91 ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
สำหรับข้อมูลตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ทั้งหมดจำนวน 55 ราย โดยปี 2559 พบผู้ป่วย 17 ราย ปี 2560 พบผู้ป่วย 23 ราย ปี 2561 พบผู้ป่วย 1 ราย ปี 2562 พบผู้ป่วย 5 ราย และปี 2563 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 9 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จากสถิติการระบาดและจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูง ซึ่งหมายความว่า ตำบลปิยามุมังเป็นตำบลที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน
๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี
๔. ให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
๕. ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 90
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม war room ไข้เลือดออกแก่ทีม SRRT ปิยามุมัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม war room ไข้เลือดออกแก่ทีม SRRT ปิยามุมัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืน                       เป็นเงิน ๗๕0.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมคณะทำงานทีม SRRT
    จำนวน 50 คน × 25 บาท x 1 มื้อ                                 เป็นเงิน 1,250.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ๒ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ๒ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสเปรย์กำจัดยุง จำนวน ๒๔ กระป๋องๆละ 79 บาท                   เป็นเงิน ๑,๘๙๖.-บาท -ค่าทรายเทมีฟอส กำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน ๑ ถังๆละ 4,800 บาท เป็นเงิน ๔,๘00.-บาท -ค่าจ้างคนพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายบาท                                      เป็นเงิน 2,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8696.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ ๓ รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยเครือข่ายสุขภาพตำบล ปิยามุมัง จำนวน 9๐ คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๓ รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยเครือข่ายสุขภาพตำบล ปิยามุมัง จำนวน 9๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 9๐ คน x 25 บาท x 1 มื้อX๒ ครั้ง     เป็นเงิน 4,500.- บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย  จำนวน 1,000 แผ่น        เป็นเงิน  500.-  บาท -ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับโรคไข้เลือดออก  จำนวน 500 แผ่น            เป็นเงิน  500.- บาท -ค่าป้ายรณรงค์โครงการขนาด 1x2 เมตร จำนวน 2 ผืนๆละ 750 บาท                                                เป็นเงิน 1,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ ๕ ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๕ ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนX 25บาท X 2 มื้อ    เป็นเงิน   2,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,196.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
2. บ้านและโรงเรียนมีค่า HI< 10 และ CI = 0
3. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค


>