กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
รหัสโครงการ 60-L3368-1(8)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,646.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ก.ค. 2560 25 ก.ค. 2560 50,646.00
รวมงบประมาณ 50,646.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10โรคความดันโลหิตสูง708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราตายต่อแสนประชากรมี ดังนี้โรคมะเร็งทุกชนิด85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2559) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดรวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักสดและผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม)และลดอาหารไขมันซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลงลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายอายุ 35ปีขึ้นไป โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม ปี 2560 ในเขตรับผิดชอบ รพ. สต.ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 654 คน พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑๒o/๘o-๑๓๙/๘๙ มิลลิเมตรปรอท (เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจหลอดเลือด) จำนวน 256 คนคิดเป็นร้อยละ 40.52 พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑4o/๙o มิลลิลิตรปรอท ขึ้นไป(สงสัยเป็นโรค) จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 3.67 และผลจากการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 779 คน ที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสียง จำนวน 96 คนคิดเป็นร้อยละ 12.32 กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 0.77โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลตะแพน จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาพฤติกรรมลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ -๕ วันวันละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับกินผักอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม และลดอาหารไขมัน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต และส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคที่ถูกต้องเหมาะสม

ชุมชนมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคที่ถูกต้องเหมาะสม

2 เพื่อให้ชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดเสี่ยง ลดภาวะแทรกซ้อน

ชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดเสี่ยง ลดภาวะแทรกซ้อน

3 ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเรื้อรัง และลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเรื้อรัง และลดภาวะแทรกซ้อน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาพฤติกรรมลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. ประสานงานภาคีเครือข่ายแต่งตั้งคณะทำงาน
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน
  4. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป
  5. จำแนกผลการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเป็นโรค ตามเกณฑ์ปิงปองจราจร 7 สี
  6. นำกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6.1 กลุ่มปกติ ดำเนินการให้ความรู้ โดยการแจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องการป้องกันและการดูแลตนเองไม่ให้เป็นโรคโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด 6.2 กลุ่มเสี่ยง
    • ดำเนินการสร้างแกนนำกลุ่มเสี่ยงจำนวน 50 คน เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตามกระบวนการคลินิก DPAC
    • การเก็บข้อมูลภาวะสุขภาพก่อนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    • ติดตามผลภายหลังเข้ากระบวนการคลีนิก DPAC เปรียบเทียบภาวะสุขภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางแก้ไข 6.3 กลุ่มผู้ป่วย

- ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน โดยทีมหมอครอบครัว พร้อมทั้งประเมินภาวะสุขภาพ และหาแนวทางแก้ไข - ดำเนินการจัดทำนวัตกรรม“กระเป๋าใส่ยา เตือนความจำ ” ให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยมอบให้กับผู้ป่วยที่มารับยา ที่รพ.สต. 7. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านการออกกำลังกายของชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกายในชุมชน 8. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำปลูกผักปลอดสารพิษ (เกษตรกร และตัวแทนนักเรียน) เพื่อดำเนินกิจกรรมและรณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน 9.จัดตั้งแปลงผักสาธิตในชุมชน 1 แปลง เพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน 10. ก่อตั้งตลาดเกษตรปลอดสารพิษในชุมชนในโรงเรียนวัดตะแพนเพื่อส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ปลอดสารพิษและส่งเสริมการเรียนรู้การตลาดแก่นักเรียนโรงเรียนวัดตะแพน 11. สรุป ติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 พฤติกรรม คือกินผัก ผลไม้สด ปลอดสารพิษทุกวัน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายตามวัยที่เหมาะสม
  2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมหมอครอบครัว พร้อมทั้งประเมินภาวะสุขภาพ และหาแนวทางแก้ไข
  3. มีแปลงผักสาธิตในชุมชน และตลาดเกษตรปลอดสารพิษในชุมชนโดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
  4. ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2560 14:05 น.