กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการเต้นแอโรบิค ชุมชนบ้านคอหงส์ 1 (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา)
รหัสโครงการ 64-L7257-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาชิกชมรมแอโรบิคชุมชนบ้านคอหงส์ 1 (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา)
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 32,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุวัฒน์ กำแพงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 31 มี.ค. 2565 32,050.00
รวมงบประมาณ 32,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์จากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย ด้วยเหตุผลต่างๆ มากมาย เช่น งานเยอะ ไม่มีเวลา เหนื่อยและเมื้อยล้า เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สุขภาพอ่อนแอลงและพบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น ความเครียด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ฯลฯ ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยต้องเน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยตนเอง ทำให้รัฐและผู้ป่วยต้องสูญเสียและสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้คนได้มาใส่ใจในการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย “5 อ.” เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชนประกอบด้วย (อ. 1) ออกกำลังกาย (อ. 2) อาหารปลอดภัย (อ. 3) อารมณ์และสุขภาพจิต (อ. 4) อนามัยชุมชน และ (อ. 5) อโรคยา กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนการปฏิรูปที่สำคัญได้แก่ (1) การปฏิรูประบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพโดยเฉพาะการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ (Primary Care System Reform) (2) การปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลดเจ็บป่วยของประชาชนอย่างบูรณาการ ให้บรรลุจุดมุ่งหมาย “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน” ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของตนเอง บุคคลในครอบครัว และคนในชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่จะร่วมใจแก้ปัญหาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยมีเป้าหมายสร้างเสริมสุขภาพให้คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นำไปสู่สุขภาพกายที่แข็งแรง สุขภาพที่จิตดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดินวิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น “การเต้นแอโรบิค” เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับชุมชนชนบทและชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างมาก “ชุมชนบ้านคอหงส์ 1 (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา)” เทศบาลตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้คนในชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายและจิตใจ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นชุมชนสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนในชุมชนได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง สมาชิกในครอบครัว และสมาชิคในชุมชน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงได้เสนอ “โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการเต้นแอโรบิค” โดยมีวัตถุประสงค์(1) เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้กับตนเอง ครอบครัว และสมาชิกทุกคนในชุมชนได้ตระหนักในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง (2) เป็นการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้นในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สุขภาพจิดใจที่ดี ห่างไกล ปลอดภัยจากโรคร้าย ห่างไกลจากยาเสพติด (3) เป็นการใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกงานให้เป็นประโยชน์ด้วยการออกกำลังกายเต้นแอโรบิคร่วมกัน และเพิ่มความเข้มแข็ง ความสามัคคี การมีปฏิสัมพันธ์ให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงด้วยการออกกำลังกายและเต้นแอโรบิค

ผู้เข้าร่วมมีสุขภาพที่ดีขึ้น แข็งแรง น้ำหนักตัวลดลง หรือเหมาะสมตามสัดส่วนร่างกาย หรือน้ำหนักไม่เพิ่มไปกว่าเดิม และมีค่า BMI ลดลงจากเดิมเมื่อเปรียบเทียบก่อนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์หลังเวลาเลิกงานและมีกิจกรรมรวมกันโดยการเต้นแอโรบิค นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชมให้มากขึ้น

สมาชิกในชุมชนใช้เวลาว่างหลังเวลาเลิกงานมาเต้นแอโรบิคร่วมกัน และมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในชุมชนกันมากขึ้น ทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20 32,050.00 3 22,180.26
1 เม.ย. 64 - 30 มี.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้เกี่ยวกับสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค 0 7,850.00 2,780.26
1 ธ.ค. 64 - 29 พ.ย. 65 เต้นแอโรบิคตามหลักวิทยาศาสต์การกีฬาและสุขภาพ 20 19,700.00 19,400.00
31 มี.ค. 65 สรุปโครงการและการประเมินความพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเข้าร่วมโครงการ 0 4,500.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึ่งพอใจในการเข้าร่วมโครงการฯ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพดีและแข็งแรงมากขึ้นหลังจากเข้าร่วมกิจกรรม
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน เสริมสร้างการมีมนุษยสัมพันธ์ ทำให้เกิดความรักใคร่ ความกลมเกลียว สามัคคี และปองดองกันในชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 15:12 น.