กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเฝ้าระวังผู้ป่วยเรื้อรัง(โรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาท่ามใต้
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสายพิณ เม่งเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.นาท่ามใต้
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
80.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบจำนวนและความชุกของผู้ป่วยทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากจำนวน 108 ล้านคนเป็น 422 ล้านคน และความชุกจาก 4.7% เป็น 8.5 % ตามลำดับ (1) สำหรับประเทศไทยในปี 2560 มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดจำนวน 4,4426,959 คน คิดเป็นความชุก 8.2 % (2)หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะผลทำให้เกิดอันตรายต่อระบบต่าง ๆในร่างกายโดยเฉพาะเส้นประสาทและเส้นเลือดซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอด ไตวาย หัวใจกำเริบ เส้นเลือดในสมองตีบและถูกตัดขา แต่สามารถรักษาโรคหรือชะลอได้ด้วย อาหาร การออกกำลังกาย การกินยา และการตรวจคัดกรอง/รักษาหากมีภาวะแทรกซ้อน (1) สำหรับปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับการรักษาจริงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลนาท่ามใต้ ทั้งหมด 61 คน แบ่งออกเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีหรือผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีโรคร่วมที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ครั้งสุดท้ายน้อยกว่าร้อยละ 7 หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม ได้แก่โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5โรคลมชักและโรคลมชักชนิดต่อเนื่อง ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1Cครั้งสุดท้ายน้อยกว่าร้อยละ 8 (3)จำนวน 16 คน คิดเป็น 26.23 % เท่านั้น ซึ่งจากการสำรวจเพิ่มเติมร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านผ่านการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเป็นรายบุคคลตามบ้านก็ยังพบว่ามมีปัญหาเกี่ยวกับ อาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น กาแฟซองแบบปรุงสำเร็จรูป น้ำหวาน และ การออกกำลังกายที่ไม่สม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นต้น หลังจากร่วมทำประชาคมแบบ priority settingด้วยวิธีไม่คิดน้ำหนักสัมพันธ์กับตัวแทนของชุมชน พบว่าปัญหาลำดับที่ 1 คือผู้ป่วยเบาหวานควบคุมน้ำตาลไม่ได้ หลังจากนั้นได้ให้ผู้เข้าร่วมประชาคมได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งได้รับข้อเสนอว่า ควรจัดโครงการเป็นการเข้าค่ายนอกสถานที่เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ เนื่องจากมีเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยอยากเข้าร่วมโครงการ จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักต่อวิธีการรักษาโรคเบาหวานทั้งด้านอาหาร การออกกำลังกาย การกินยา และการตรวจคัดกรอง/รักษาหากมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะช่วยลดค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ซึ่งช่วยตอบสนองตามความต้องการของชุมชน และสอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

80.00 55.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,375.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมให้ความรู้ 0 40,375.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2564 13:14 น.