โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 |
รหัสโครงการ | 60-L7580-2-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลฉลุง |
วันที่อนุมัติ | 21 กรกฎาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 25 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 91,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศุภัศร์มายี่สุ่นศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.725,100.035place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การตกน้ำจมน้ำของเด็กในประเทศไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน (ปี พ.ศ.2548 – 2557) มีจำนวนการเสียชีวิตเฉลี่ย ปีละ 1,177 คนหรือวันละ 3.2 คน อัตราการป่วยตาย (CaseFatalityRate) จากการจมน้ำเท่ากับร้อยละ 37.2 กลุ่มประชากรเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงถึงร้อยละ 30 ของทุกกลุ่มอายุ โดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่าตัว และกระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือน ประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549 – 2558) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน(ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค) จากข้อมูลการเฝ้าระวัง เด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายๆ คน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักจะกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ และจากการศึกษาของสำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็นร้อยละ 23.7 และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ (มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยเหลือ) เพียงร้อยละ 4.4 ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า, 20.7 เท่า และ 2.7 เท่า ตามลำดับ และช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เท่ากับ 148 คน รองลงมาคือมีนาคม มีจำนวน 129 คนและพฤษภาคม 125 คน ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา
ซึ่งพื้นที่เขตเทศบาลตำบลฉลุง เป็นพื้นที่ที่มีลำคลองไหลผ่านทั้ง 4 ชุมชน โดยชุมชนตลาดสด และชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล จะมีลำคลองสายมำบังไหลผ่าน ส่วนชุมชนวัดดุลยารามและชุมชนชุมสายโทรศัพท์ จะมีลำคลองสายห้วยชั่งทองไหลผ่าน ซึ่งลำคลองทั้ง 2 สายต่างก็มีระดับน้ำที่ค่อนข้างสูง และการไหลเชี่ยวของสายน้ำค่อนข้างแรง มีจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจมน้ำอยู่หลายพื้นที่ และในปีที่ผ่านมาพบว่า มีเด็กในเขตพื้นที่ชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลจมน้ำเสียชีวิต 1ราย บริเวณพื้นที่ชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลมีคลองมำบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชนที่มีน้ำไหลในลำคลองตลอดปี และมีเด็กนอกเขตจมน้ำเสียชีวิตอีก 1 ราย บริเวณรอยต่อสะพานคลองมำบังระหว่างชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลและชุมชนนอกเขต ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อุบัติเหตุการเสียชีวิตเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ขาดความระมัดระวัง ไม่รู้จักวิธีการเอาตัวรอด ขาดการละเลยจากสายตาพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลฉลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการวัคซีนเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และมีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ และเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ |
||
2 | เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ ร้อยละ 80 |
||
3 | เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน ร้อยละ 80 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
19 - 20 ส.ค. 60 | อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ การช่วยเหลือคนจมนำ้ในการเอาชีวิตรอด | 50 | 91,600.00 | ✔ | 91,600.00 | |
รวม | 50 | 91,600.00 | 1 | 91,600.00 |
- ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการวางแผนงานร่วมกันระหว่างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลฉลุงพร้อมทั้งกำหนดวันที่และสถานที่ดำเนินการ
1.2 ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง 1.3 จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 1.4 ประสานชี้แจงผู้ปกครองและสำรวจพื้นที่จุดเสี่ยงเด็กจมน้ำในชุมชน 2.ขั้นดำเนินการ
2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ- กิจกรรมอบรมการทำแผนที่จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้การฟื้นคืนชีพ (CPR)
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำ (ตะโกนโยนยื่น)และอบรมเชิงปฏิบัติการพร้อมสาธิตฝึกทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำพร้อมประเมินทักษะ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
- กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการออกแบบป้ายเตือน/ป้ายประชาสัมพันธ์แสดงขั้นตอนในการช่วยเหลือคนจมน้ำ
3. ขั้นประเมินผล
4.ขั้นสรุปและรายงานผล
- เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้
2.เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
3.เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 16:02 น.