กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ หมู่บ้านต้นแบบ ลดมัน ลดเค็ม ลดหวาน ลดโรคได้ ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L2519-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิราณี อับดุลรามัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 17,000.00
รวมงบประมาณ 17,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันการดำเนินชีวิตในแต่ละวันต้องเร่งรีบและแข่งขันกับเวลาทำให้ประชาขนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์กับการเป็นอยู่ เช่นการรับประทานอาหารจานด่วนการรับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ แม้กระทั่งการรับประทานอาหารที่มีรสหวานๆและพฤติกรรมการดื่มพวกกาแฟต่าง ๆเป็นต้น ซึ่งในอาหารเกือบทุกชนิดจะใช้เกลือแกงเป็นองค์ประกอบรวมถึงจะเน้นน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่การบริโภคอาหารที่มีเกลือและน้ำตาลสูงในระยะเวลานานๆทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเบาหวานตามมา อีกอย่างโดยบริบทประชาชนในพื้นที่จะมีการจัดเลี้ยงบ่อย เช่น งานแต่งงานการทำบุญต่างๆงานขึ้นปีใหม่ ก็จะเน้นอาหารที่มีแกงกะทิเป็นหลักซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว แล้วเป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูงตามมาด้วยอาจทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลับและเส้นเลือดในสมองตีบหรือตันได้ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในแต่ละวันที่ถูกวิธี
ซึ่งทางองค์กรอนามัยโลก( WHO ) ได้ให้คำแนะนำปริมาณเกลือที่เหมาะสมกับร่างกาย คือ 2,000 มิลลิกรัม/ วันหรือ 1 ช้อนฃา, น้ำปลา 4 ช้อนชา แต่กลับพบว่าคนไทยได้รับโซเดียมเฉลี่ยสูง 4 ,351.7 มิลลิกรัม/วันซึ่งเกินกว่าที่องค์กรอนามัยโลกได้แนะนำถึง 2 เท่าส่วนน้ำตาลควรบริโภคในเด็กและสูงอายุ ไม่เกิน 4 ช้อนชา ในวันทำงานและใช้พลังงานมาก 6-8 ช้อนชา , ส่วนไขมัน 6 ช้อนชา/วัน ดังนั้นทางรพ.สต. จึงเห็นความสำคัญของการจัดโครงการในครั้งนี้เพื่อประชาชนในเขตรพ.สต บางขุดมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคนได้รับการคัดกรองและตรวจโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในระยะแรกเริ่ม

1.ร้อยละของประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคนได้รับการคัดกรองและตรวจโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน  ในระยะแรกเริ่ม

0.00
2 2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงสามารถมีความรู้  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ๑.ให้ความรู้ในกลุ่ม อสม. และกลุ่มทั่วไป ๒.มีการวัดความดันโลหิต สูงและเจาะเบาหวาน พร้อมคิดค่า BMI ๓.มีการติดตามทุกเดือน โดย จนท.ผู้รับผิดชอบ 0 17,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรในกลุ่มเสี่ยงและอาสาสมัครหมู่บ้านและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้น
  2. กลุ่มเป้าหมายได้ไปทำกิจกรรมร่วมกันทุกเดือนไม่ผิดนัดจนจบโครงการ 6 เดือน
  3. กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมทำโครงการมีการเปลี่ยนแปลงสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นเห็นความสำคัญในการทำโครงการครั้งนี้สามารถนำไปปฏิบัติต่อไปตลอด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 00:00 น.