กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันพลัดตกหกล้มและโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคอหงส์
รหัสโครงการ 64-L7257-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 40,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผศ.ดร.ขนิษฐา นาคะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 40,200.00
รวมงบประมาณ 40,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การ “พลัดตกหกล้ม”เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ (Unintentional) รองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุมากกว่า 1ใน 3 เกิดภาวะหกล้ม โดยครึ่งหนึ่งของผู้ที่หกล้ม จะเกิดภาวะหกล้มซ้ำซ้อน แต่อุบัติการณ์ของภาวะหกล้มมักต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นเรื่องปกติของวัยสูงอายุ และ พบว่า ผู้สูงอายุที่หกล้มแล้วมีกระดูกสะโพกหัก ต้องเข้ารับการรักษาใน รพ. ประมาณ 1 ใน 4 จะเสียชีวิต ในเวลา 1 ปีต่อมา (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2563) ปัจจุบันประเทศไทย ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในระยะ 10 ปี จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 2,500,000 คน และคาดการณ์ว่าจะสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากร ในปี พ.ศ. 2568 (กระทรวงสาธารณสุข, 2559) การที่ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคหรือกลุ่มอาการสูงอายุจากความเสื่อม ซึ่งจะเห็นว่าผู้ป่วยสูงอายุจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยา นอกจากการหกล้มแล้ว ภาวะสมองเสื่อมเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และต้องอาศัยความช่วยเหลือจากญาติและผู้ดูแล ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทย มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทย มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มีจำนวน 617,000 คน โดยพบในประชากรอายุ 60-69 ปีร้อยละ 8 ในประชากรอายุ 70-79 ปี และร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของประชากรที่อายุ 85 ปีขึ้นไปซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ.2580 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,350,000 คน ประกอบกับการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม 1 คน อย่างมีคุณภาพ ต้องใช้ผู้ดูแลอย่างน้อย 2 คน หากญาติในครอบครัวเป็นผู้ดูแลกันเองจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแล ประมาณ 4,000-6,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายทางอ้อมของผู้ดูแล เช่น ต้องลาออกจากงานมาดูแล รวมทั้งค่าเสียโอกาสต่างๆ ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางอ้อมของผู้ดูแล เช่น ต้องลาออกจากงานมาดูแล รวมทั้งค่าเสียโอกาสต่างๆ ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญในการที่จะป้องกันความพิการ ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเอง และลดภาระของญาติและคนในครอบครัวได้
ดังนั้นผู้จัดโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัด “โครงการการป้องกันพลัดตกหกล้มและโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองคอหงส์” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินกิจกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคอหงส์ ข้อมูลที่ได้จากการจัดกิจกรรมนี้สามารถเติมเต็มช่องว่างของการพัฒนาความรู้ ทักษะในการดูแลตนเอง และการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุและความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงสถานการณ์การป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่/ชุมชน ณ ปัจจุบัน รวมถึงผู้รับผิดชอบและผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุสามารถใช้ข้อมูลเรื่องปัญหา/อุปสรรคและบทเรียนภายหลังการจัดโครงการในการวางแผนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 มีความรู้และทักษะในการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม และสามารถนำไปใช้ได้

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมตามเกณฑ์

0.00
2 ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม

0.00
3 ได้รับการทดสอบ Time up and go (TUG)

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการทดสอบ Time up and go (TUG)

0.00
4 ได้รับการประเมินองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) โดยเครื่อง body scan

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการประเมินองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) โดยเครื่อง body scan

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,200.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 0 5,925.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 0 8,700.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 0 13,550.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 4 0 5,450.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 5 0 5,450.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน 0 1,125.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม
  2. ไม่เกิดอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม
  3. ชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม
  4. เผยแพร่ความรู้แก่บุคคลอื่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 10:31 น.