กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง


“ โครงการเตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัวปี 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง ”

ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางรำจวน ระฆังทอง

ชื่อโครงการ โครงการเตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัวปี 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง

ที่อยู่ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L7580-1-10 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 25 กรกฎาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัวปี 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัวปี 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัวปี 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L7580-1-10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 25 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 26,316.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สืบเนื่องในรัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ.2559 ในหมวดเรื่องการปฏิรูประบบ สาธารณสุข ระบุให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสมประชาชนทุกคนทุกครอบครัว จะมีหมอครอบครัวเป็นญาติให้การดูแล แบบใกล้บ้านใกล้ใจ เหมือนพี่น้องประชาชนสามารถซื้อของเบ็ดเตล็ดที่ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ที่ร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอยไม่จำเป็นต้องไปที่ห้างสรรพสินค้าในการเลือกซื้อสินค้าที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน ให้ความสะดวกสบายและเป็นกันเองตลอดจนดูแลได้ใกล้ชิดเหมือนคลินิกหมอส่วนตัวที่ยังได้รับ ความนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่ บทบาทคลินิกหมอครอบครัว ระบบการให้บริการ บริการทุกคน บริการทุกอย่าง บริการทุกที่ บริการทุกเวลาด้วยเทคโนโลยี บริการทุกคน คือ ดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์ วัยทารก วัยเด็กนักเรียน วัยทำงานจนถึงวัยสูงอายุ บริการทุกอย่าง คือ งานส่งเสริมสุขภาพ งานปูองกันโรค งานรักษาพยาบาล งานฟื้นฟูสภาพและงานคุ้มครอง ผู้บริโภค บริการทุกที่คือ ทั้งงานในที่ตั้งคลินิกหมอครอบครัว ทั้งงานเชิงรุกให้บริการที่บ้าน และในชุมชน บริการทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีคือ ให้คำปรึกษา ประชาชนสามารถสอบถามปัญหาเรื่องปูองกันรักษาและยามเจ็บ ไข้ได้ป่วย ด้วยการทิ้งคำถามไว้ในกลุ่ม LINE หรือ face book แล้วมีทีมหมอครอบครัวเข้ามาช่วยกันตอบแต่ต้อง ระวังเรื่องความลับของผู้ป่วย สามารถถ่ายภาพเพื่อให้หมอครอบครัวช่วยแนะนำดูแลหรือโทรศัพท์ ในเวลา เจ็บป่วยฉุกเฉินจำเป็นตามแต่จะตกลงกัน โดยทีมหมอครอบครัวหนึ่งทีมดูแลพี่น้องประชาชน 10,000 คน ในพื้นที่ที่รับผิดชอบชัดเจน ทีมหมอ ครอบครัวประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการ สาธารณสุขและสหสาขาวิชาชีพ หัวใจสำคัญของการดำเนินงาน Primary Care Cluster “คลินิกหมอครอบครัว” คือ การดูแลคนใช้ ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Person & Patient-Centered Primary Care) อาศัยทีมสหวิชาชีพ เพื่อนำเอาความ เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาวิชาชีพมาใช้ให้เกิดการดูแลที่มีประสิทธิผลและเต็มประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ ประชาชนสามารถดูแลตนเอง (Self-Care) ครอบครัวแข็งแรง (Healthy Family) และชุมชนเข้มแข็ง (Community Care) เพื่อให้เกิดลักษณะบริการ “สร้างนำซ่อม” หรือมีการส่งเสริมสุขภาพและปูองกันโรคเป็น สำคัญ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยการออกแบบบริการที่เอื้อต่อการเข้าถึงของประชาชน ซึ่งไม่เพียง เป็นการเข้าถึงคลินิกบริการ แต่ต้องเป็นการเข้าถึงชีวิตและจิตใจ ระบบต้องมีพื้นที่ให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ วิธีการที่จะมีสุขภาพดีเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองยามเจ็บป่วยตั้งแต่ขั้นต้นไปจนสิ้นสุดศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ดังนั้น บริการปฐมภูมิซึ่งมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดจำเป็นต้องมีช่องทางสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนทุก กลุ่มทั้งกลุ่มป่วย หรือกลุ่มปกติทุกเพศหรือทุกวัย บุคลากรสาธารณสุขที่อยู่ในระบบปฐมภูมิจำเป็นต้องเรียนรู้ ที่จะนำเอาความ เป็นมืออาชีพด้านสุขภาพสอดแทรกเข้าไปในรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ที่ตนดูแล จึงต้องมี ความเข้าใจใน ความเป็นอยู่ ความเชื่อ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลต่อการมีสุขภาพดี กล่าวได้ว่าระบบบริการที่ดีควรมีความเป็นเนื้อเดียวกับบริบทของชุมชนนั้นๆ เครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการ ดูแลในรูปแบบที่ใฝ่ฝันนั้น คือ หลักคิดของการแพทย์ในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งเป็นการแพทย์สาขาที่ มีอัตลักษณ์ในการดูแลคน มากกว่าดูแลโรค เน้นองค์รวมมากกว่าดูแลด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว, เน้นการ ดูแลต่อเนื่องทุกช่วงของการเจ็บป่วยและดูแลคนทุกคนในครอบครัวไม่จำกัดการดูแลเพียงบางเพศหรือบางกลุ่มวัย
ดังนั้น เพื่อให้การจัดบริการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง เป็นหนึ่งในเป้าหมายการดำเนินงานดำเนินงาน Primary Care Cluster “คลินิกหมอครอบครัว”ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ วันที่ ๑มกราคม๒๕๖๐มาแล้วนั้น พบว่าจุดอ่อนที่ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง พบมาตลอดคือการจัดบริการเชิงรุกโดยเฉพาะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสดังนั้นในโอกาสปีงบประมาณ ๒๕๖๐ นี้เพื่อตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง จึงได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัว
ปี 2560ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง เพื่อเกิดการดูแลสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมผสมผสานอย่างแท้จริงต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสำรวจข้อมูลประชาชนในเขตเทศบาลฉลุงทุกหลังคาเรือนเพื่อปรับปรุงข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน
  2. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วม
  3. เพื่อวางแผนจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสในปีงบประมาณ ๒๕๖๑

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 120
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    -มีข้อมูลประชาชนในเขตเทศบาลฉลุงทุกหลังคาเรือนเพื่อปรับปรุงข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน

    -เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่อง

    -มีการจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน, ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุมต่อเนื่องอย่างน้อย ๓ ปี


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. 1. กิจกรรมอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจข้อมูลประชาชนทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริงเกิน ๖ เดือน

    วันที่ 15 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลปรากฏว่าประชาชนในหลังคาเรือนจำนวน 672 หลังคาเรือน ได้รับการสำรวจจาก อสม.ตามเขตรับผิดชอบ ครอบคลุมทุกหลัง และได้บันทึกข้อมูลในโปรแกรมการให้บริการของ รพ.สต.ต.ฉลุง เพื่อประมวลผลในการตั้งเป้าหมายการดูแลประชากร ตามเป้าหมายโดยแบ่งเป็น5 กลุ่มวัย ตามเกณฑ์การจัดบริการของ รพ.สต. โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายการดูแลผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมายที่ต้องจัดบริการเชิงรุกกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้พิการผู้ด้อยโอกาส ในการวางแผนให้บริการของหมอครอบครัวในปี 2561 ในการเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการกับเครือข่ายต่อไป แต่ด้วยปัญหาอุปสรรคเรื่องน้ำท่วมในพื้นที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมในการประชุมวางแผนยังไม่ได้ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ แต่ ทาง รพ.สต.ต.ฉลุง ต้องขออนุมัติดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2561 ต่อ

     

    120 120

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผลปรากฏว่าประชาชนในหลังคาเรือนจำนวน 672 หลังคาเรือน ได้รับการสำรวจจาก อสม.ตามเขตรับผิดชอบ ครอบคลุมทุกหลัง และได้บันทึกข้อมูลในโปรแกรมการให้บริการของ รพ.สต.ต.ฉลุง เพื่อประมวลผลในการตั้งเป้าหมายการดูแลประชากร ตามเป้าหมายโดยแบ่งเป็น  5 กลุ่มวัย ตามเกณฑ์การจัดบริการของ รพ.สต. โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายการดูแลผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมายที่ต้องจัดบริการเชิงรุกกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้พิการผู้ด้อยโอกาส ในการวางแผนให้บริการของหมอครอบครัวในปี 2561 ในการเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการกับเครือข่ายต่อไป แต่ด้วยปัญหาอุปสรรคเรื่องน้ำท่วมในพื้นที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมในการประชุมวางแผนยังไม่ได้ดำเนินการ  ได้ตามวัตถุประสงค์ แต่ ทาง รพ.สต.ต.ฉลุง ต้องขออนุมัติดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2561 ต่อ

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสำรวจข้อมูลประชาชนในเขตเทศบาลฉลุงทุกหลังคาเรือนเพื่อปรับปรุงข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน
    ตัวชี้วัด : มีข้อมูลประชาชนในเขตเทศบาลฉลุงทุกหลังคาเรือนเพื่อปรับปรุงข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน ร้อยละ 100

     

    2 เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วม
    ตัวชี้วัด : เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่อง ร้อยละ 100

     

    3 เพื่อวางแผนจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสในปีงบประมาณ ๒๕๖๑
    ตัวชี้วัด : มีการจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน, ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุมต่อเนื่องอย่างน้อย ๓ ปี ร้อยละ 100

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 120
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสำรวจข้อมูลประชาชนในเขตเทศบาลฉลุงทุกหลังคาเรือนเพื่อปรับปรุงข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน (2) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วม (3) เพื่อวางแผนจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสในปีงบประมาณ ๒๕๖๑

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการเตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัวปี 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L7580-1-10

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางรำจวน ระฆังทอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด