กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลและติดตามการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5281-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านควนบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 23,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุชนาฏ หยาหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และสามีได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ 3. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้อย่างถูกต้อง และเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพได้

1.  อัตรามารดาตาย ร้อยละ 0 2.  หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 3.  อัตราเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง 5 โรค (DM/หัวใจ/ไทรอยด์/PIH/PPH) ร้อยละ 100 4. อาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 85

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,900.00 0 0.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 1. กิจกรรมจัดอบรมหญิงตั้งครรภ์และสามี 2. กิจกรรมจัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 23,900.00 -

ขั้นตอนการวางแผน     1. คณะทำงานประชุมวางแผนการดำเนินงาน     2. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ     3. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง/อสม.     4. สำรวจกลุ่มเป้าหมายข้อมูลประชากรหญิงตั้งครรภ์ ทั้งหมดในพื้นที่ ของรพ.สต.บ้านควนบ่อทอง
    5. ติดต่อประสานงานกับ อสม.แกนนำ เพื่อแจ้งกลุ่มเป้าหมายและให้หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ
    6. ประชาสัมพันธ์ทางสื่อทุกชนิด ทุกรูปแบบตามความเหมาะสม     7. ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ   ขั้นตอนการดำเนินงาน     1. จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ สามี ในเขตรับผิดชอบ ในเรื่องต่างๆ
      ดังต่อไปนี้
      1.1 โรคความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์       1.2 โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
      1.3 โรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์
      1.4 โรคไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์
      1.5 การตกเลือดหลังคลอด
      1.6 โรคโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
      1.7 วิธีคุมกำเนิดชนิดต่างๆที่เหมาะสมกับโรคประจำตัวในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง
      1.8 ภาวะเสี่ยงอื่นๆ
    2. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในเขตรับผิดชอบเกี่ยวกับ       การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและดูแลปัญหาในชุมชนอย่าง
      ต่อเนื่อง
    3. บริการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพโดยพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ในสถานบริการและเชิงรุก
      ในชุมชนดังต่อไปนี้
      3.1 ให้บริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์       3.2 ให้บริการเจาะเลือดคัดกรองโรคต่างๆในหญิงตั้งครรภ์ 2 ครั้ง ได้แก่ กรุ๊ปเลือด โรคโลหิตจาง
          โรคธาลัสซีเมีย โรคไวรัสตับบี โรคซิฟิลิส ตรวจหาเชื้อ เอช ไอ วี และโรคเบาหวาน (ในรายที่           คัดกรองพบภาวะเสี่ยง)       3.3 ให้บริการส่งต่อพบแพทย์เพื่ออัลตราซาวด์ 2 ครั้ง (U/S)
          - ครั้งที่ 1 เมื่ออายุครรภ์ 16 – 20 สัปดาห์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอน
          - ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ในระยะใกล้คลอด 2 สัปดาห์ เพื่อยืนยันท่าเด็ก/             ส่วนนำ สำหรับใช้วางแผนในการคลอดบุตรต่อไป
      3.4 ให้บริการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน       3.5 ให้บริการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงและมารดาและทารกหลังคลอด 3 ครั้ง
          ตามเกณฑ์มาตรฐาน
      3.6 ให้บริการการเว้นช่วงการมีบุตรครบ 42 วันหลังคลอด (4-6 สัปดาห์หลังคลอด)       3.7 ส่งต่อผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
    4. ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
    5. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 85
    1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆในขณะตั้งครรภ์อย่างครอบคลุมเพื่อค้นหา ภาวะเสี่ยงต่างๆ ในระยะเริ่มแรกและได้รับการแก้ไข/ส่งต่ออย่างทันท่วงที และได้รับการดูแล จากแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้งในครรภ์ปกติและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงจะได้รับการดูแล จากแพทย์เฉพาะทางตลอดการตั้งครรภ์
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อได้ทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 00:00 น.