กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2-5 ปี
รหัสโครงการ 64-L3368-3(2)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวนโหนด
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวนโหนด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 มี.ค. 2564 20 มี.ค. 2564 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่มีวัสดุอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)และได้คัดกรองก่อนการเข้า-ออก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีมาตรการดำเนินการในการป้องกันโรค
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6ปีซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต       ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องถูกฝากเลี้ยงไว้ในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่มีเด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเด็กเกิดการเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อด้วยการระบาดของโรคไปสู่เด็กคนอื่นๆได้ง่าย ในเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยบ่อยโรคที่พบบ่อยได้แก่โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคติดต่อต่างๆอาจจะต้องปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและผู้ปกครองต้องหยุดงานเพื่อดูแลลูกหลานอยู่ที่บ้านทำให้ขาดรายได้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญถึงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ในศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ
      จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ระลอกใหม่ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ขณะนี้เริ่มมีการแพร่ระบาดขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้นและยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ทำให้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะแพนได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการแพร่เชื่อดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2– 5 ปีขึ้นเพื่อจัดกิจกรรมป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองที่นำบุตรหลานมาฝากไว้ให้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดูแลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองลดการเกิดโรคและการระบาดในเด็ก

การเกิดโรคและการระบาดในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง

90.00
2 เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)ไว้เพื่อคัดกรองการเข้า-ออก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)และได้คัดกรองก่อนการเข้า-ออกในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 20,000.00 0 0.00
12 - 20 มี.ค. 64 เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคและเกิดโรคติดต่อ 50 20,000.00 -

วิธีดำเนินการ
1.ประชุมชี้แจงนำเสนอโครงการ 2.จัดทำแผนงานโครงการ เพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน 3.จัดซื้อเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานตามโครงการ ดำเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ 1. มีมาตรการการคัดกรองวัดไข้ผู้เรียน ครู และบุคลากรของสถานศึกษา 2. มีมาตรการเข้มงวดให้ผู้เรียนต้องใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา 3. มีจุดล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ 4. มีมาตรการเข้มงวดให้ผู้เรียนต้องล้างมือบ่อยๆ 5. มีการจัดเว้นระยะห่างในห้องเรียนตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) 6. มีการทำความสะอาดพื้นผิวต๊ะ เก้าอี้ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ทุกห้องเรียน หลังจบการเรียนการสอนหรือทุกสองชั่วโมง 7. มีการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสหรือบริเวณส่วนรวมที่ใช้ร่วมกันบ่อย ๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู 8. มีการเปิดหน้าต่างประตูห้องเรียนเพื่อระบายอากาศตอนพักเที่ยงหรือช่วงไม่มีการเรียนการสอนในห้องนั้น 9. มีมาตรการให้ผู้เรียนลดการจับกลุ่มพูดคุยกันโดยไม่จำเป็น 10. มีมาตรการลดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก เช่น เข้าค่าย กีฬาสี ฯลฯ 11. มีมาตรการลดความแออัดของผู้เรียนในการใช้พื้นที่ส่วนรวมร่วมกัน เช่น สนามเด็กเล่น โรงอาหาร ห้องสมุด ฯลฯ 12. มีการบริหารจัดการอย่างเข้มงวดสำหรับรถรับ-ส่งนักเรียนให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในเด็กเล็ก 2.สามารถป้องกันเฝ้าระวังจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 13:30 น.