กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ
รหัสโครงการ 60-L3368-1(12)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ส.ค. 2560 3 ส.ค. 2560 13,200.00
รวมงบประมาณ 13,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs ) เป็น กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิธีการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่าง เหล้า บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียด ปี พ.ศ. 2558 และ 255๙ ผลการตรวจคัดกรอง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามพบเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 13(ร้อยละ 3.79)และ 22 ราย (ร้อยละ 6.38) ตามลำดับ และพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 0.52) และ 7 ราย(ร้อยละ 1.76)ตามลำดับ และเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 76 ราย (ร้อยละ 34.99) และ 117 ราย(ร้อยละ 33.91) ตามลำดับ และเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 46 ราย (ร้อยละ 12.04) และ 95 ราย (ร้อยละ 20.69) ตามลำดับ ปี 2558 – 2559ผู้ป่วยรายใหม่ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 2 และ 2 ราย ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน จำนวน 3 และ 2 ราย ตามลำดับ
จากการสำรวจโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพฤติกรรม ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม ปี 2559พบว่า พฤติกรรมบริโภคผักและผลไม้สด มากกว่าครึ่งกิโลกรัมหรือ5 กำมือต่อวัน ในระดับ ทุกวัน ร้อยละ 8.20 และในระดับ ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 7.50 ,พฤติกรรมบริโภคอาหารไขมันสูง ในระดับทุกวัน ร้อยละ 12.00 และในระดับ ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 7.14,พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง ในระดับทุกวัน ร้อยละ 33.76 และในระดับ ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 6.28 , พฤติกรรมการกินเค็มเป็นประจำ เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็มของหมักดอง ร้อยละ 71.30 และพฤติกรรมการปรุงรสด้วยการเติมน้ำปลาซีอิ้วซอสร้อยละ 55.25 และพฤติกรรมการออกกำลังกายทำเป็นประจำ ร้อยละ 13.25 และ ไม่เคยออกกำลังกาย ร้อยละ 17.00 จากข้อมูลและสถิติข้างต้น กลุ่มเสี่ยงมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกปีซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจพฤติกรรม การบริโภคหวาน มัน เค็ม ที่ค่าสถิติสูง และมีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้มากกว่า ครึ่งกิโลกรัมหรือ 5 กำมือ ทุกวัน มีค่าสถิติต่ำ และ พฤติกรรมการออกกำลังกาย ทุกวัน มีค่าสถิติ ต่ำเช่นกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานนั้นเป็นโรคที่สามารถ 2./ป้องกันได้...... -2- ป้องกันได้ เพราะ สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนนั่นเอง ซึ่งหากประชาชนสามารถลด หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ได้ก็จะเป็นการลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ปี2560เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูง ได้นำทักษะ ความรู้การควบคุม ป้องกัน โรคและลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและการดูแลตนเอง 2. กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 3. กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมจนสามารถควบคุมความดันโลหิตและหรือภาวะน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดลง

กลุ่มเสี่ยงได้นำความรู้ ทักษะ มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต อย่างสม่ำเสมอโดยมีอสม.ภาคีเครือข่ายในชุมชน มีส่วนร่วมการสร้างกระแสและกระตุ้น สร้างปัจจัยเอื้อทางสิ่งแวดล้อมแก่กลุ่มเป้าหมาย จนสามารถป้องกันและควบคุมการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในรายใหม่ได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและการดูแลตนเอง 2. กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 3. กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมจนสามารถควบคุมความดันโลหิตและหรือภาวะน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดลง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
2. ประสานงานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 3.จัดทำหลักสูตร เนื้อหาการอบรม รูปแบบการอบรม 4. ประชุมชี้แจงโครงการในที่ประชุมประจำเดือน อสม. และในหมู่บ้าน
ขั้นดำเนินการ 1. ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการในกิจกรรม ที่ 1 และ 2 จะต้องตรวจวัดความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดก่อนเริ่มโครงการ 3. ดำเนินการตามโครงการโดยมีกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและความรู้เรื่องพืชสมุนไพรช่วยลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
4. ผู้เข้าร่วมโครงการตรวจวัดความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดหลังดำเนินโครงการ 5. ประเมินผลโครงการ ตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัด เปรียบเทียบผลความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดก่อนและหลัง โครงการ อย่างน้อย 2 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงได้นำความรู้ ทักษะ มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต อย่างสม่ำเสมอโดยมีอสม.ภาคีเครือข่ายในชุมชน มีส่วนร่วมการสร้างกระแสและกระตุ้น สร้างปัจจัยเอื้อทางสิ่งแวดล้อมแก่กลุ่มเป้าหมาย จนสามารถป้องกันและควบคุมการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในรายใหม่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 22:53 น.