กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม เทศบาลเมืองคลองแห ปี 2564
รหัสโครงการ 64-l7255-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแห
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 พฤศจิกายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 902,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิรินาถ สัตยายุทธ์ ประธานฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 902,150.00
รวมงบประมาณ 902,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 2060 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
200.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
70.00
3 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน
45.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)
56.00
5 จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน
1.00
6 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)
42.00
7 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล
100.00
8 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
35.00
9 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
48.59
10 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
39.48
11 จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ( ADL รน้อยกว่า 11 ) ได้รับการจัดบริการดูแล
15.00
12 จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มี ADL น้อยกว่า 11 (คน )
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยพบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในปี๒๕๓๗มีผู้สูงอายุ๔ ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ ๖.๘ ของประชากรทั้งหมด)ในปี ๒๕๕๗เพิ่มเป็น ๑๐ล้านคน (ร้อยละ ๑๔.๙)และคาดว่าในอีก๒๕ ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น ๒๐.๕ ล้านคน (ร้อยละ ๓๒.๑) และมีอัตราส่วนวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุลดลงจาก ๖:๑ ในปี ๒๕๕๓ จะเหลือวัยแรงงาน ๒ คน ต่อผู้สูงอายุ ๑ คน ในปี ๒๕๘๓ ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการจัดให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพ ได้ถึงร้อยละ ๙๕ ของผู้สูงอายุทั้งหมดซึ่งจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ดำเนินการคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิงและประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการ และจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม จำนวน ๖,๓๙๔,๐๒๒ ราย จำแนกเป็นกลุ่มติดสังคมประมาณ ๕ ล้านคน และกลุ่มติดบ้านติดเตียง ประมาณ ๑.๓ ล้านคน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจสังคม จิตวิญญาณ
เทศบาลเมืองคลองแห มีประชากรผู้สูงอายุอายุในปี 2564 จำนวน 4,820 คน ซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดสังคมจำนวน 3,610 คนกลุ่มติดบ้านจำนวน 820 คน กลุ่มผู้ป่วยและผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง จำนวน 290 คน เป็นกลุ่มป่วยที่ติดเตียงจำนวน 100 คน ที่ประเมิน ADLต่ำกว่า 11 ปัจจุบันศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแหมี จำนวน ผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีแผนการให้การพยาบาลอยู่ในความรับผิดชอบในการดูแลจำนวน 80 คน ผู้พิการและทุพลภาพ จำนวน 15 คนและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นดังนั้นเพื่อรองรับจำนวนผู้รับบริการที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทางเทศบาลเมืองคลองแหได้เล็งเห็นความสำคัญและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในการวางแผนการดูแลและวางแนวทางเพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงที่อย่างมีคุณภาพ จึงมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพ ในกลุ่มผู้พิการกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะติดเตียง ทุกกลุ่มวัย และผู้สูงอายุทุกกลุ่มนโยบายสำคัญคือ การทำให้ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง มีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงและวางระบบการดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลอื่นที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การบริหารจัดการระบบบริการดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแห ร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้จัดทำโครงการจัดระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม เทศบาลเมืองคลองแห ปี 2564เพื่อดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้พิการให้มีประสิทธิภาพมีความยั่งยืนพร้อมทั้งเตรียมระบบการดูแลที่บ้าน สถานพักฟื้น และชุมชนในการเตรียมระบบดูแลแบบองค์รวม ต้องมีการทำงานเป็นทีมทั้งในส่วนของภาครัฐ และเอกชน พร้อมทั้งในส่วนของทีม สหวิชาชีพ เช่น แพทย์ผู้จัดการระบบผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน พยาบาล Cg Cm นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ เป็นต้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่รับผิดชอบของ เทศบาลเมืองคลองแห ได้รับการจัดบริการทางด้านสุขภาพตามแผนการพยาบาลและตามความต้องการของผู้รับบริการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแห เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล( Long Term Care) จึงได้จัดทำโครงการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม เทศบาลเมืองคลองแห ปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

200.00 195.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

70.00 65.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

35.00 60.00
4 เพื่อเพิ่มการอนุมัติและนำแผนการดูแลรายบุคคล(CP)ไปปฏิบัติ

แผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล เพิ่มขึ้น

100.00 100.00
5 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

56.00 70.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

42.00 50.00
7 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

39.48 60.00
8 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

48.59 70.00
9 เพื่อเพิ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

45.00 60.00
10 เพื่อเพิ่มจำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

1.00 1.00
11 จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ( ADL รน้อยกว่า 11 ) ได้รับการจัดบริการดูแลตามแผนการพยาบาล

จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ( ADL รน้อยกว่า 11 ) ได้รับการจัดบริการดูแลเพิ่มขึ้น

15.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 การจัดบริการทางด้านการพยาบาลให้ผู้ป่วย LTC กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 280 820,450.00 0 0.00
14 พ.ค. 64 สนับสนุนครุภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆตามแผนการทางการพยาบาล ครั้งที่1 60 621,480.00 -
5 ก.ค. 64 สนับสนุนครุภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆตามแผนการทางการพยาบาล ครั้งที่2 100 100,000.00 -
10 ก.ย. 64 สนับสนุนครุภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆตามแผนการทางการพยาบาล ครั้งที่3 60 49,870.00 -
10 พ.ย. 64 สนับสนุนครุภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆตามแผนการทางการพยาบาล ครั้งที่4 60 49,100.00 -
2 ประชุมคระทำงาน/คณะกรรมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 4,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจำนวน25 คน (1 ครั้ง) 25 4,000.00 -
3 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 10,500.00 0 0.00
28 ก.ย. 64 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวใน พื้นที่ 50 10,500.00 -
4 สำรวจและประเมินสุขภาพผู้สุงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1500 16,500.00 0 0.00
1 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 สำรวจข้อมูลและประเมินผลทางด้านสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองแห 1,500 16,500.00 -
5 ถอดบทเรียน Conference case กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 0.00 0 0.00
18 ต.ค. 64 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Care Conference 20 0.00 -
6 อบรมพัฒนาศักยภาพ CG ผู้ดูแล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 50,200.00 0 0.00
12 พ.ย. 64 อบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง 50 50,200.00 -
7 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 500.00 0 0.00
29 - 30 ก.ย. 64 สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.บุคลากรในการดูแลระยะยาวมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

3.ผู้พิการ ทุพลภาพ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 23:55 น.