กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม เทศบาลเมืองคลองแห ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแห

ตำบลคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

200.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

70.00
3 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

 

45.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

56.00
5 จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

 

1.00
6 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

42.00
7 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล

 

100.00
8 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

35.00
9 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

 

48.59
10 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

39.48
11 จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ( ADL รน้อยกว่า 11 ) ได้รับการจัดบริการดูแล

 

15.00
12 จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มี ADL น้อยกว่า 11 (คน )

 

30.00

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยพบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในปี๒๕๓๗มีผู้สูงอายุ๔ ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ ๖.๘ ของประชากรทั้งหมด)ในปี ๒๕๕๗เพิ่มเป็น ๑๐ล้านคน (ร้อยละ ๑๔.๙)และคาดว่าในอีก๒๕ ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น ๒๐.๕ ล้านคน (ร้อยละ ๓๒.๑) และมีอัตราส่วนวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุลดลงจาก ๖:๑ ในปี ๒๕๕๓ จะเหลือวัยแรงงาน ๒ คน ต่อผู้สูงอายุ ๑ คน ในปี ๒๕๘๓ ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการจัดให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพ ได้ถึงร้อยละ ๙๕ ของผู้สูงอายุทั้งหมดซึ่งจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ดำเนินการคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิงและประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการ และจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม จำนวน ๖,๓๙๔,๐๒๒ ราย จำแนกเป็นกลุ่มติดสังคมประมาณ ๕ ล้านคน และกลุ่มติดบ้านติดเตียง ประมาณ ๑.๓ ล้านคน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจสังคม จิตวิญญาณ
เทศบาลเมืองคลองแห มีประชากรผู้สูงอายุอายุในปี 2564 จำนวน 4,820 คน ซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดสังคมจำนวน 3,610 คนกลุ่มติดบ้านจำนวน 820 คน กลุ่มผู้ป่วยและผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง จำนวน 290 คน เป็นกลุ่มป่วยที่ติดเตียงจำนวน 100 คน ที่ประเมิน ADLต่ำกว่า 11 ปัจจุบันศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแหมี จำนวน ผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีแผนการให้การพยาบาลอยู่ในความรับผิดชอบในการดูแลจำนวน 80 คน ผู้พิการและทุพลภาพ จำนวน 15 คนและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นดังนั้นเพื่อรองรับจำนวนผู้รับบริการที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทางเทศบาลเมืองคลองแหได้เล็งเห็นความสำคัญและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในการวางแผนการดูแลและวางแนวทางเพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงที่อย่างมีคุณภาพ จึงมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพ ในกลุ่มผู้พิการกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะติดเตียง ทุกกลุ่มวัย และผู้สูงอายุทุกกลุ่มนโยบายสำคัญคือ การทำให้ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง มีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงและวางระบบการดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลอื่นที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การบริหารจัดการระบบบริการดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแห ร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้จัดทำโครงการจัดระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม เทศบาลเมืองคลองแห ปี 2564เพื่อดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้พิการให้มีประสิทธิภาพมีความยั่งยืนพร้อมทั้งเตรียมระบบการดูแลที่บ้าน สถานพักฟื้น และชุมชนในการเตรียมระบบดูแลแบบองค์รวม ต้องมีการทำงานเป็นทีมทั้งในส่วนของภาครัฐ และเอกชน พร้อมทั้งในส่วนของทีม สหวิชาชีพ เช่น แพทย์ผู้จัดการระบบผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน พยาบาล Cg Cm นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ เป็นต้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่รับผิดชอบของ เทศบาลเมืองคลองแห ได้รับการจัดบริการทางด้านสุขภาพตามแผนการพยาบาลและตามความต้องการของผู้รับบริการ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแห เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล( Long Term Care) จึงได้จัดทำโครงการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม เทศบาลเมืองคลองแห ปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

200.00 195.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

70.00 65.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

35.00 60.00
4 เพื่อเพิ่มการอนุมัติและนำแผนการดูแลรายบุคคล(CP)ไปปฏิบัติ

แผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล เพิ่มขึ้น

100.00 100.00
5 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

56.00 70.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

42.00 50.00
7 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

39.48 60.00
8 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

48.59 70.00
9 เพื่อเพิ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

45.00 60.00
10 เพื่อเพิ่มจำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

1.00 1.00
11 จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ( ADL รน้อยกว่า 11 ) ได้รับการจัดบริการดูแลตามแผนการพยาบาล

จำนวนบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ( ADL รน้อยกว่า 11 ) ได้รับการจัดบริการดูแลเพิ่มขึ้น

15.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 2,060
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กรรมการศูนย์ CG CM 52

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจำนวน25 คน (3 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจำนวน25 คน (3 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครั้งที่ 1. วางแผนการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 ติดตามการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ครั้งที่ 3 ประเมินผลการดำเนินโครงการและปัญหาและแนวทางแก้ไข งบประมาณ

ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มคณะทำงานจำนวน 25 คน ๆละ 25 บาท / มื้อ จำนวน 3 ครั้งเป็นเงิน 1500 บาท ค่าเอกสารวัสดุสำนักงาน ( เอกสารประกอบการประชุม จำนวน 25 ชุด/1 ครั้งปากกา สมุด) ครั้งละ 1000 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในการจัดการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

มีแผนการทำงาน แผนปฏิบัติการการดูแลผู้สูงอายุทั้งกลุ่มปกตติและมีภสวะพื่งพิงในระยะยาว

มีการจัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลตามแผนการพยาบาล

ประสานบุคลากรทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายการเยี่ยมบ้านมีมาตรฐาน/ทักษะการออกเยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 บรมผู้ดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
บรมผู้ดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม การดูแลผู้สูงอายุ และบุคลที่มีภาวะพึ่งพิงเบื้องต้น

กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยหลัก 3 อ.( อาหารอารมณ์ การออกกำลังกาย )

กิจกรรมสาธิตการทำอุปกรณ์ในการทำกายภาพและฟื้นฟูเบื้องต้น

กิจกรรมสาธิการช่วยชีวิตผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงเบื้องต้น

งบประมาณ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 75 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน ๒ มื้อเป็นเงิน 3,750 บาท

ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุม 75 คนๆละ 60 บาท/มื้อจำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท

เอกสารประกอบการจัดประชุมจำนวน 70 ชุดๆ ละ 30บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุม( กระดาษพรูฟ ปากกาเคมี คลิบปากกาฯลฯ) 3,000 บาท

อุปกรณ์สาธิต เมนูอาหารเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุ (ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ) 5,000 บาท

อุปกรณ์สาธิต การฟื้นฟูกล้ามเนื้อและส่วนต่างๆในผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง5,000 บาท โมเดล เมนูอาหาร ในผู้สูงอายุ 10,000 บาท

ค่าวิทยากรเชิงปฎิบัติการ ประจำกลุ่ม 3 กลุ่มจำนวน 3 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 5,400 บาท

ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 1 คนๆละ 1 ชั่วโมงจำนวน 2 ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท

อุปกรณ์สาธิตการปฐมพยาบาลผู้สูงอายุ เบื้องต้น ชุดละ 500 บาท จำนวน 4 ชุด 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤษภาคม 2564 ถึง 6 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และบุคลที่มีภาวะพึ่งพิงมีความรู้ในการดูแล ดูแลผู้สูงอายุ และบุคลที่มีภาวะพึ่งพิงเบื้องต้น

ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ตามหลักโภชนาการ ในการดูแล ดูแลผู้สูงอายุ และบุคลที่มีภาวะพึ่งพิงเบื้องต้น

ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้การทำอุปกรณ์ฟื้นฟูเบื้องต้น

ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้เรื่องการช่วยชีวิตผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41650.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลและประเมินผลทางด้านสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองแห

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลและประเมินผลทางด้านสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคลองแห
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 1,200 ชุดๆ 5 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ค่าจ้างในการสำรวจข้อมูลและประเมิลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้นชุดละ 5 บาทจำนวน 1,200ชุดเป็นเงิน 6,000 บาท

ค่าวัสดุสำนักงาน ( กระดาษ ปากกาฯลฯ) จำนวน 3,000 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมและชี้แจงในการใช้แบบสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ( CG CM บุคลากรทางด้านสาธารณสุข ) จำนวน 60 คน ๆละ25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีฐานข้อมูลทางด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลคลองแห

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 4 จัดบริการการให้การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามประเภทให้ได้ตามมาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการการให้การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามประเภทให้ได้ตามมาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณในการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงในการการสนับสนุนครุภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ตาม CARE PLANE ( แผนการดูแลผู้ป่วยแต่ละบุคคล )

การจัดบริการดูแลและการให้การพยาบาลและค่าตอบแทน ใช้งบประมาณจากกองทุนLTC

ครุภัณฑ์ทางการแพทย์

ค่าครุภัณฑ์ที่จำเป็นตามแผนการให้การพยาบาล ที่ประเมินโดยสหวิชาชีพ และผ่านการรับรองจาก แพทย์พยาบาล และ CM เช่น เตียงฟลาวเลอร์ เบาะลม วอล์กเกอร์ รถเข็น เครื่องทำออกซิเจน ไม้สามขา เครื่อง suction ถังออกซิเจนแอมบูผู้ใหญ่/ เด็ก ฯลฯ ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย

อุปกรณ์และครุภัณฑ์ในการฟื้นฟูสุขภาพและทำกายภาพบำบัดเช่น อุปกรณ์สำหรับฝึกกายภาพกล้ามเนื้อมัดเล็กราวฝึกเดินลานลานหินสุขภาพ เป็นต้น ราคาอ้างอิงตามมาตรฐานราคาครุภัณฑ์ทางการแพทย์

วัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์

วัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ตามแผนการพยาบาลของแต่ละราย เช่น แพมเพิร์ส ชุดทำแผล ถุงมือตรวจโรคอาหารเหลวนมผงสำหรับเด็ก

( รายละเอียดตามเอกสารแนบ )

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2564 ถึง 5 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพในการให้การพยาบาลตามมาตรฐาน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
810000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวใน พื้นที่ ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวใน พื้นที่ ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการคืนข้อมูลให้พื้นที่

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน ๒ มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุม 50 คนๆละ 60 บาท/มื้อ จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท เอกสารประกอบการจัดประชุมจำนวน 50ชุดๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุม ( กระดาษพรูฟ ปากกาเคมี คลิบปากกาฯลฯ) 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 8 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ครั้งที่ 1

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Care Conference

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ Care Conference
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบปประมาณ ในการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ Care Conferenceจำนวน 2 ครั้ง

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆละ 25 บาท/มื้อจำนวน 2ครั้ง เป็นเงิน 1,500 บาท ค่าเอกสารจำนวน 30 ชุดละ 50 บาท /ครั้งจำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2564 ถึง 17 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับการวางแผนการพยาบาลและมีมาตรฐานในการให้การพยาบาลผู้ป่วยรายบุคลโดยทีมสหวิชาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 7 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวใน พื้นที่ ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวใน พื้นที่ ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการคืนข้อมูลให้พื้นที่

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุม 50 คนๆละ 60 บาท/มื้อจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000บาท

เอกสารประกอบการจัดประชุมจำนวน 50ชุดๆ ละ 50บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุม ( กระดาษพรูฟ ปากกาเคมี คลิบปากกาฯลฯ) 2,000 บาท

ค่าถ่ายเอกสารและพร้อมปรินส์รายงานการจัดบริการดูแล ผู้พิการ ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ เล่มละ 100 บาท จำนวน 50 เล่ม เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กันยายน 2564 ถึง 6 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนครั้งที่ 2

-เกิดนโยบายสาธารณะ ด้านการดูแลผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 8 สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

เอกสารสรุปผลการดำเนินงานจำนวน 2 เล่มเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดรูปเล่มและบันทึกในระบบอย่างสมบูรณ์ในการทำรายงานส่งกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 902,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.บุคลากรในการดูแลระยะยาวมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

3.ผู้พิการ ทุพลภาพ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน


>