กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
รหัสโครงการ 64-L5292-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทุ่งบุหลัง
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2564 - 10 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 10 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 9,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภัสษร รัตนศรีปัญญะ
พี่เลี้ยงโครงการ 1. นายสมบัติ สิทธิชัย 2.นางนูรียะฮ์ ไชยเทพ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2564 10 พ.ค. 2564 9,220.00
รวมงบประมาณ 9,220.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก “ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม” ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมกันดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศ พบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากความหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการความเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชัดจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้นโกและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่าเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด มัสยิดเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากเป็นสถานที่ในการปฏิบัติศาสนกิจและปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีบทบาทหน้าที่และภารกิจอีกหลายด้าน รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกันและในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆมากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ต่างๆมากยิ่งขึ้น ทางโรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาและชุมชน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน และส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น โรงเรียนบ้านทุ่งบุหลังจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

เด็ก เยาวชน และประชาชน ร้อยละ ๙๐  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

0.00
2 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้รับรู้สถานการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอก และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

เด็ก เยาวชน และประชาชน ร้อยละ 90 ได้รับรู้สถานการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอก และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายแนวร่วมเด็กและเยาวชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

เด็ก เยาวชน และประชาชน ร้อยละ 90 สร้างเครือข่ายแนวร่วมเด็กและเยาวชน  ประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

0.00
4 เพื่อสนับสนุนนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล

เด็ก เยาวชน และประชาชน ร้อยละ 90  จะมีสุขภาพแข็งแรงปราศจากยาเสพติด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
10 เม.ย. 64 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 59 9,220.00 -
10 เม.ย. 64 2. กิจกรรมออกกำลังกายกลางแจ้ง 0 0.00 -
รวม 59 9,220.00 0 0.00
  1. ขั้นตอนการวางแผน   - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ   - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนโครงการ   - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นวิทยากรให้ความรู้
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน   - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดรวมทั้งโทษของยาเสพติด   - จัดกิจกรรมออกกำลังกายกลางแจ้งต้านยาเสพติด ปีการศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
  4. ประเมินผลการดำเนินงาน
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก เยาชน และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดอย่างเหมาะสม
  2. ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาในโรงเรียน และนักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้
  3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในโรงเรียนและชุมชน
  4. เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในโรงเรียน สามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 11:56 น.