กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เลือก รู้ซื้ออาหารปลอดภัยห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 030/2564
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เงินนอกงบประมาณโรงพยาบาลกาบัง
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 21,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรฮันนี่ฟาร์ ง้อยลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหารจากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือนในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือน หรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมายดังนั้นการควบคุม ดูแล ให้การประกอบกิจการการจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหารประเภทร้านอาหาร แผงลอย จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้มีการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการดังกล่าวให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้โดยการตรวจแนะนำสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาตัวผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการเลือกซื้อและการจัดบริการอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้หลักสุขาภิบาลอาหาร

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารและเห็นความสำคัญในการพัฒนาแยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาล

40.00 50.00
2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการเลือกซื้ออาหาร

กลุ่มเป้าหมายเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้ออาหารและตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร

40.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,950.00 0 0.00
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้หลักสุขาภิบาลอาหารแก่ประชาชนทั่วไปและแลกเปลี่ยนความรู้/สาธิตสารปนเปื้อนในอาหาร 0 21,950.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกิจรรมหลังจากอบรม ๒ เดือน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารและเห็นความสำคัญในการพัฒนาแยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาล ๒. กลุ่มเป้าหมายเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้ออาหารและตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 00:00 น.