กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเครือข่ายติดตามฉีดวัคซีนแบบยั่งยืนในเด็กอายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ 64-L4156-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 34,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรีฎวน มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 31 ธ.ค. 2564 1 ก.ย. 2564 31 ธ.ค. 2564 34,000.00
รวมงบประมาณ 34,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี เข้ารับบริการฉีดวัคซีนล่าช้า
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคที่ผ่านมาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ รวมทั้งเฝ้าระวังโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในพื้นที่ ตำบลเกะรอมีบางกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญ จึงต้องให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการติดตามวัคซีน รวมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของวัคซีน ฮาลาล การดูแลหลังฉีดวัคซีน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยเฉพาะให้ความร่วมมือนำเด็กที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน แนวทางการรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยอายุ 0-5 ปี ทุกคน ที่ต้องได้รับให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง ปลอดจากโรค ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านความคิดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ โดยสิ่งสำคัญคือการจัดบริการด้วยความสะดวก ปลอดภัย และต้องให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในป้องกันการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และการระบาดในพื้นที่ด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน อาทิเช่น โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น     จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ ในปี 2562 รพ.สต.เกะรอ มีการจัดบริการคลินิกเด็กดี 4 ครั้งต่อเดือน โดยกำหนดเป็นช่วงเช้าบริการฉีดวัคซีนที่มาตามนัดและช่วงบ่ายเชิงรุกในพื้นที่ ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด พบว่าผู้ปกครองพาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนล่าช้า ทำให้รับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ และไม่ครบตามเกณฑ์ จึงมีการติดตามทั้งเครือข่าย อสม. และเจ้าหน้าที่ประจำ รพ.สต.อย่างต่อเนื่อง เพื่อการให้บริการมีความครอบคลุมมากที่สุดครบถ้วน ร้อยละ 100 ทั้งนี้ต้องมีการประชาสัมพันธ์ถึงผลกระทบ ความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเพิ่มเติม และอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ จึงได้จัดโครงการติดตามการได้รับวัคซีน เด็ก 0-5 ปีอย่างต่อเนื่องปี 2564 งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ ได้ให้บริการตามมาตรฐานงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จากการศึกษาปัญหาพบว่า กลุ่มที่ยังขาดคือกลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่ย้ายตามผู้ปกครองไปต่างจังหวัดและรายอยู่ในความดูแลของญาติ เริ่มแก้ปัญหาด้วยการใช้การติดตามทางโทรศัพท์ แต่พบปัญหาการติดต่อไม่ได้บ้างและเจ้าหน้าที่ให้ อสม.ติดตามก็มีปัญหาอสม.บางท่านไม่มีเวลาติดตามผู้รับบริการวัคซีน จึงได้จัดทำโครงการโครงการพัฒนาระบบติดตามวัคซีนเชิงรุกในเด็กอายุ 0-5 ปี รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผู้มารับบริการวัคซีนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอมากขึ้น การใช้สื่อออนไลน์เช่นเฟสบุ้ค ไลน์ สามารถเพิ่มและติดตามความครอบคลุมการมารับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก0-5 ปีให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐาน และสามารถลดค่าโทรศัพท์ในการติดตามการมารับวัคซีนได้ในการพัฒนาระบบนัดการติดตามวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครอบคลุม ลดการป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ลดภาระการกำจัดโรค ลดภาระการดูแลผู้ป่วย ซึ่งประเทศชาติต้องสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กอายุ 0-5 ปี แก่ผู้ปกครอง

ร้อยละ 100 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี เข้ารับการอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กอายุ 0-5 ปี

100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี พาเด็กเข้ารับบริการฉีดวัคซีนตามนัด

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองพาเด็กอายุ 0-5 ปี เข้ารับบริการฉีดวัคซีนตามนัด

40.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
24 - 30 ธ.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนในเด็กแก่ผู้ปกครอง 200 34,000.00 34,000.00
รวม 200 34,000.00 1 34,000.00
  1. สร้างระบบการเรียนรู้ระหว่าง ผู้นำหมู่บ้าน อสม. ผู้นำศาสนา ในพื้นที่ผ่านระบบออนไลน์
  2. ให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากการไม่ได้รับวัคซีน
    3.กิจกรรมเพิ่มทักษะการดูแลเด็กหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรค 4.สร้างระบบติดตาม โดย อสม.เป็นผู้ติดตามหลัก แบบเชิงรุก
  3. สร้างทีมงานเพื่อนช่วยเพื่อนในการให้คำปรึกษาเรื่องภูมิคุ้มกันโรค
  4. สร้างระบบติดตาม โดยใช้ อสม.เป็น call center ในการติดตามลูกบ้านที่ไม่มาฉีดวัคซีนตามนัด 7.กิจกรรมแลกเปลี่ยนจากผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้รับบริการมาฉีดวัคซีนตามนัด
2. ผู้รับบริการมีสุขภาพดี ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3.ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดี และทราบผลเสียของการได้รับวัคซีนล่าช้า
4. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องของวัคซีน /เกณฑ์อายุ /ฤทธิ์ข้างเคียงของวัคซีน / การดูแล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 10:14 น.