กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองรู้เร็ว ปรับตัวทัน ความดันเบาหวาน ได้รับการดูแล ตำบลหนองแรต ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3050-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 61,410.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกอดะ เจะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 61,410.00
รวมงบประมาณ 61,410.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1050 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
25.73
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
24.02
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
86.09
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
16.39

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี 2561-2563 อำเภอยะหริ่ง มีการคัดกรองเบาหวานในกลุ่มประชากรทั่วไปอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 96.20 , 96.18, และ 94.48 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 15.20 , 12.22 และ 16.44สำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจน้ำตาล HbA1c ร้อยละ 24.32 , 39.69 และ 44.83 ควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 4.34 , 6.76 และ 2.71 (เกณฑ์ร้อยละ 40)ในส่วนของการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงประชากรในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองได้ร้อยละ 96.78 , 96.17 และ 95.15 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มลดลง คิดเป็นร้อยละ 28.38ร้อยละ 21.68ร้อยละ 6.65 กลุ่มสงสัยป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 4.85 , 3.68 และ 4.02ความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันฯ 2 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 40.78 , 66.46 และ 43.15 สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีร้อยละ 14.41, 41.18 และ 23.29 (เกณฑ์ร้อยละ 50)ป จากสถานการณ์ข้างต้น จึงเห็นได้ว่า แนวโน้มของประชากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมถึงการควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็ยังเป็นปัญหาหลักๆที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ บวกกับขนบธรรมเนียมประเพณี การรับประทานอาหารของประชาชนในอำเภอยะหริ่ง ซึ่งค่อนข้างเป็นชุมชนเมือง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุวัยทำงาน มักซื้ออาหารนอกบ้านรับประทาน รวมถึงซื้อฝากผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลด้วยบวกกับพื้นที่ของอำเภอยะหริ่งติดทะเล การประกอบอาชีพก็เป็นชาวประมง และการทำอาหารแห้ง ซึ่งรสชาติอาหารเน้นหนักไปในเรื่องของความเค็ม ดังนั้น ตำบล...หนองแรต....อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีมีจำนวนประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไปที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด...1,195.......คนดังนั้น ชมรมสร้างเสริมสุขภาพตำบล...หนองแรต....ร่วมกับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบล..หนองแรต.....อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จึงต้องดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองรู้ตัวเร็ว ปรับตัวทัน ความดันเบาหวานได้รับการดูแล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

25.73 95.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

24.02 95.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

86.09 90.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

16.39 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 เม.ย. 64 ประชุมชี้แจงโครงการโดย อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต. และพชต.หนองแรต 55 1,375.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 50 6,926.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 50 3,750.00 -
1 ต.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 คัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต 1050 49,359.00 -
รวม 1,205 61,410.00 0 0.00
  1. วิธีดำเนินการ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1  จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล...หนองแรต.......อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี 1.2 รวบรวมรายชื่อประชากรที่มีอายุ  35  ปี ขึ้นไป ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จากฐานข้อมูลประชากร 1.3  ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  รับทราบโครงการพร้อมจัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุก  ในการดำเนินการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต ในเขตรับผิดชอบ 1.4 ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบเพื่อรับบริการตามวันและเวลาที่กำหนด

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงาน 2.1 ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานดำเนินการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต  โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด  วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูงวัดรอบเอวและประเมินดัชนีมวลกายพร้อมคืนข้อมูลผลการตรวจคัดกรองให้กับกลุ่มเป้าหมายรับทราบภาวะสุขภาพของตนเองเป็นรายบุคคล 2.2  บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรอง ลงในโปรแกรม JHCIS เพื่อแยกประเภทผู้ที่ได้รับการ ตรวจคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิต  เป็นกลุ่มปกติ  กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่สงสัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2.3 รวบรวมข้อมูลรายชื่อประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่เพื่อดำเนินการส่งต่อทันที 2.4 ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบเพื่อเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการ 2.5 ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2.6 ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านในละแวกของตนเองภายในระยะเวลา  3-6 เดือน พร้อมคืนข้อมูลผลการตรวจคัดกรองซ้ำให้กับกลุ่มเป้าหมายรับทราบภาวะสุขภาพของตนเองเป็นรายบุคคลโดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านติดตามวัดความดันโลหิต (Home BP) และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2.7  ดำเนินการกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน (ตามบริบทพื้นที่ของแต่ละตำบล) เช่น กิจกรรมการออกกำลังกายแบบสม่ำเสมอ การจัดทำเมนูอาหารในแต่ละวัน (เมนูสาธิตหรือจัดบู๊ทอาหาร) การบริโภคผักโดยใช้หลักการของตู้เย็นข้างบ้าน 2.8  ประชากรกลุ่มเป้าหมายสงสัยป่วยรายใหม่ที่ได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2.9  ค้นหาบุคคลต้นแบบของตำบล

ขั้นที่ 3  สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1  สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรอง  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  พร้อมการส่งต่อและประเมินโครงการเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด 3.2  วิเคราะห์ ติดตามและประเมินผล ติดตามกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยทุก 2 เดือน 3.3  รายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพร้อมรับทราบภาวะสุขภาพของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ 2ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและยั่งยืนตามบริบทลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2564 10:07 น.