กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหาในโรงเรียน
รหัสโครงการ L1480-64-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทอนหาน
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 28,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกาญจนา คงเลิศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.127,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะ ซึ่งเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากโดยจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มเด็กนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะและดูดเลือดเป็นอาหาร ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของเหาในโรงเรียน คือ ต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ ปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ โดยใช้ยาเพื่อฆ่าเหา ซึ่งยาที่ใช้มีทั้งในรูปแบบครีม เจล หรือโลชั่น วิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและเห็นผลชัดเจน   ดังนั้น โรงเรียนบ้านทอนหาน จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยมุ่งหวังให้เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้ปกครอง มีความรู้ในการป้องกัน การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาด จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาในโรงเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเองและป้องกันรักษาโรคเหา

 

0.00
2 เพื่อลดการแพร่ระบาดและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำในเด็กนักเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 30,450.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเองและรักษาโรคเหา 80 6,050.00 -
1 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นตอนวิธีการกำจัดเหาแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง 80 24,400.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
  2. จัดประชุมวางแผนเพื่อชี้แจงโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
    1. สำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหาจากการตรวจผมของนักเรียนทุกคน
  3. จัดซื้อยากำจัดเหาและอุปกรณ์อี่นๆ ที่ใช้ในการกำจัดเหา
  4. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเองและรักษาโรคเหา 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นตอนวิธีการกำจัดเหาแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง
  5. สรุป/รายงานผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเองและป้องกันรักษาโรคเหา   2. สามารถลดการแพร่ระบาดและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำในเด็กนักเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2564 11:45 น.