กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวลาโละร่วมใจ ลดอุบัติเหตุ ลดความเสี่ยงในชุมชน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2514-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลาโละ
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะห์ ยีมะยี
พี่เลี้ยงโครงการ นาย ซำสุดิน หามะ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาการจารจรด้านการใช้รถใช้ถนน นับวันยิ่งสะสมมากขึ้น จากการเพิ่มของจำนวนประชากร และจำนวนยานพาหนะบนท้องถนน ประกอบกับการขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดระเบียบวินัยในการปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาและเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรได้ทุกเวลา ดังนั้นควรให้มีการจัดอบรมด้านวินัยจราจร เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนได้พัฒนาตนเองในการสัญจร การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เคารพกฎจราจร ลดปัญหาการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่วนใหญ่ยังไม่เคารพกฎจราจร ขับรถย้อนศร ไม่สวมใส่หมวกกันน๊อค ยังขาดความรู้ความเข้าใจในสัญลักษณ์จราจร การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ช่วงเวลาที่ผ่านมาในระยะที่ไม่นานเท่าใดนัก เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่าอัตราการป่วยตายของคนไทยมีสาเหตุสำคัญเกิดจากโรคภัยที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งสิ้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเรียกว่าพฤติกรรมเสี่ยงก็ว่าได้ พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การอุปโภคบริโภค การพบปะสังสรรค์ (Interaction) ในกลุ่มมนุษย์ การขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้นการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ไม่ปลอดภัยจนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้นนับเป็นความสูญเสียอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่ มีการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละปีมีจำนวนมาก อุบัติเหตุเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ขับขี่ (2) ปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ (3) ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และ (4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการอุบัติเหตุที่เป็นผลมาจากปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่ตีค่าเป็นตัวเงินหรือความเสียหายที่ไม่อาจตีค่าเป็นตัวเงินได้ จากความสูญเสียดังกล่าว นับว่าเป็นภัยอย่างร้ายแรงที่จะส่งผลเสียหายต่อสังคมในภาพรวม ซึ่งรัฐบาลในยุคที่ผ่านมาจวบจนถึงรัฐบาลในยุคปัจจุบันได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะทำการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนมิให้เกิดขึ้นหรือให้เกิดขึ้นได้ในจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังที่ปรากฏตั้งแต่ปีพ.ศ.2547รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนระดับจังหวัด และ อำเภอ โดยเน้นการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญเป็นหลักด้วยมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐพยายามคิดรูปแบบและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม แต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนสถิติที่ผ่านมากลับพบว่าจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนก็ยัง เกิดขึ้นให้เห็น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้รถใช้ถนนมากกว่าปกติ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแล้วการดำเนินการโดยภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอ ในยุคปัจจุบันควรที่จะคิดรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะการนำภาคประชาชนในท้องถิ่นที่มีความพร้อมหรือมีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุอีกทางหนึ่ง ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม) ตำบลลาโละ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนสร้างความปลอดภัยในชุมชนขึ้น เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่ ตลอดจนสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ โดยประชาชนในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่มีส่วนร่วม มีการส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัยตลอดจนเกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่โดยหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้การป้องกันอุบัติเหตูที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันอุบัติเหตุ ร้อยละ

80.00
2 เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุและป้องกันการสูนเสียทรัพย์สินและชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุ

ลดการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ

40.00
3 เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุ

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในกาให้รช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
30 มี.ค. 64 - 30 เม.ย. 64 จัดทำสื้่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ลดอุบัติเหตุ ลดเสี่ยงในชุมชน และป้ายโครงการ 0 6,000.00 -
30 มี.ค. 64 - 30 เม.ย. 64 สรุปผลและประเมินโครงการ 0 0.00 -
1 - 2 เม.ย. 64 จัดทำโครงการเพื่องบประมาณ 0 0.00 -
1 เม.ย. 64 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางบกและกฎหมายจราจร 0 7,000.00 -
2 เม.ย. 64 ประชุมเชิงปฏิบัติการสาธิตวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นจากอุบัติเหตูทางบก 0 7,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันอุบัติเหตุใช้เส้นทางจราจรและเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
2.อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่ลดลง
3.เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 14:12 น.