กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 64-L3368-1(4)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 พฤษภาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 31 ธ.ค. 2564 33,200.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 33,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 820 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด นับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก โดยคนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน    มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 157 คน และโรคเบาหวานจำนวน 53 คน สาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดรวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ จำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม  ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลงลดภาวะแทรกซ้อน  ในกลุ่มผู้ป่วย จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม  ปี 2564 ในเขตรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 703 คน พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑๒o/๘o-๑๓๙/๘๙ มิลลิเมตรปรอท (เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจหลอดเลือด) จำนวน 254 คนคิดเป็นร้อยละ 36.13 พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑4o/๙o มิลลิลิตรปรอท ขึ้นไป(สงสัยเป็นโรค) จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 13.51 และผลจากการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 820 คน ที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสียง จำนวน 114 คนคิดเป็นร้อยละ 12.52 กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 1.08 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลตะแพน จึงจัดทำโครงการปรับพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนขึ้น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องใน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต และส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและแข็งแรงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคที่ถูกต้อง เหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

80.00
2 เพื่อให้ชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคลดเสี่ยงลดภาวะแทรกซ้อน

ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคลดเสี่ยงลดภาวะแทรกซ้อน

80.00
3 ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเรื้อรัง และลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเรื้อรังและลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลงไม่เกินร้อยละ 5

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 820 33,200.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 1.ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้น * อายุ 15 ปี – 35 ปี คัดกรองความเสี่ยงโดยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยวาจาตามแบบฟอร์ม2.นำกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 820 33,200.00 -
  1. ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการ     2. ประสานงานภาคีเครือข่าย คณะทำงาน
        3. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน     4. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
    • อายุ 15 ปี – 35 ปี คัดกรองความเสี่ยงโดยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยวาจาตามแบบฟอร์ม
    • อายุ 35 ปี ขึ้นไป คัดกรองความเสี่ยงโดยวิธีการวัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด
          5. จำแนกผลการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเป็นโรค
          6. นำกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ         6.1 กลุ่มปกติ ดำเนินการให้ความรู้ โดยการแจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องการป้องกันและการดูแลตนเองไม่ให้เป็นโรคโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด         6.2 กลุ่มเสี่ยง
                - ดำเนินการสร้างแกนนำกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตามกระบวนการคลินิก DPAC
    • ติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยง โดย อสม.เชี่ยวชาญโรคเรื้อรัง ตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ ช่วงเช้า และบ่าย นำผลการวัดความดันโลหิตมาวิเคราะห์ หากพบภาวะความดันโลหิตสูง ดำเนินการส่งต่อพบแพทย์           - การเก็บข้อมูลภาวะสุขภาพก่อนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                - ติดตามผลภายหลังเข้ากระบวนการคลีนิค DPAC เปรียบเทียบภาวะสุขภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางแก้ไข   6.3 กลุ่มผู้ป่วย

- ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน โดยทีมหมอครอบครัว พร้อมทั้งประเมินภาวะสุขภาพ และหาแนวทางแก้ไข - ดำเนินการจัดทำนวัตกรรม“กระเป๋าใส่ยา เตือนความจำ ”ให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยมอบให้กับผู้ป่วยที่มารับยา ที่รพ.สต.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 พฤติกรรม คือ กินผัก ผลไม้สด ปลอดสารพิษทุกวัน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายตามวัยที่เหมาะสม
  2. ผู้ดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  3. ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 14:58 น.