กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าทัน เฝ้าระวังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 64-L3368-1(8)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2021 - 31 ธันวาคม 2021
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2021 31 ธ.ค. 2021 24,500.00
รวมงบประมาณ 24,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างสมรรถนะ ให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดีขึ้น การส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเอื้ออำนวยให้มีสภาวะร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ในสังคมที่สมบูรณ์ บุคคล หรือชุมชนสามารถระบุสิ่งที่จำเป็น ในการที่จะบรรลุการมีสุขภาพดี และในการเปลี่ยน หรือการจัดสิ่งแวดล้อมสุขภาพนั้น ถือเป็นแนวความคิดด้านบวกที่เน้นทรัพยากรทางสังคมและส่วนบุคคลมาก เท่ากับเน้นความสามารถทางกาย โดยนัยนี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านสุขภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่ประชาชนมีการปฏิบัติให้เกิดวิถีชีวิตที่ดีเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปทุกราย ต้องได้รับการตรวจคัดกรอง ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Verbal Screening) การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น โดยบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนกลุ่มเสี่ยง           การคัดกรองและป้องกันความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีเป้าหมายสำคัญ คือสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเน้นกิจกรรมในส่วนของงานบริการเชิงรุก จากการดำเนินการคัดกรองในปี ๒๕๖3 พบว่าประชากรได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง ร้อยละ 97.20 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 39 คนคิดเป็นร้อยละ 11.21 กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 6.92 และได้รับการคัดกรองเบาหวาน ร้อยละ 98.06 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 147 คนคิดเป็นร้อยละ 36.30 กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 3.46 มีกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๕0.28 โดยกลุ่มเสี่ยงที่กลายเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 0 รายคิดเป็นร้อยละ 0.00 และกลุ่มเสี่ยงที่กลายเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.02 จากปัญหาดังกล่าวหากได้ มีการตรวจค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น จะเป็นการช่วยให้กลุ่มเสี่ยงรู้จักวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องจะช่วยลดการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆที่จะตามมาได้เป็นอย่างมาก จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรู้เท่าทัน ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักและเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิด พร้อมเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสุขภาพจิตดีเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแยกประชากรตามกลุ่ม(กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ ๙๐

90.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเอง

กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๕๐

50.00
3 เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตามระบบการรักษาครอบคลุม ร้อยละ ๑๐๐

100.00
4 เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนด

กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๕๐

50.00
5 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปานกลาง/ เสี่ยงสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

กลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูง/เบาหวานได้รับการส่งต่อร้อยละ 10๐

100.00
6 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูง/เบาหวานเป็นผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกินร้อยละ ๑๐/๕

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 24,500.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 60 24,500.00 -
  1. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อวัสดุการแพทย์ ๓. ชี้แจงให้ อสม.ทราบขั้นตอนการคัดกรอง และนัดกลุ่มเป้าหมาย ๔. ออกดำเนินงานคัดกรองตามแผนที่กำหนดไว้
  3. รวบรวมข้อมูล ลงบันทึกผลการปฏิบัติงานในโปรแกรม JHCIS
  4. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง
  5. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  6. รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน
  7. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ ๙๐
  2. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง
  3. ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ 4.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่อง 5.อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2021 09:51 น.