กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L3368-1(9)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 31 ธ.ค. 2564 15,550.00
รวมงบประมาณ 15,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เข้าร่วมเสวนาและประชาคมเครือข่ายในพื้นที่
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน       สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม พบว่าตั้งแต่ปี 2559-2563 เท่ากับ 104.93 (1 ราย) , 105.73 (1ราย) , 0 (0ราย) ,205.33(2 ราย) และ 307.69(3 ราย)ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตาย ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 20% เทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร (ลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง)

20.00
2 เพื่อป้องกันอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน

อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์

100.00
3 สร้างความร่วมมือในชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนมีความตระหนักถึงสภาพปัญหาโรคไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

80.00
4 เพื่อควบคุมค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน (HI< 10 , CI = 0)

ทุกหมู่บ้านมีค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 85 15,550.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 จัดประชุมเสวนาทีมเครือข่ายสุขภาพท้องถิ่น 85 15,550.00 -

วิธีดำเนินการ
1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการฯ 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะแพน เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 3. ประชุมคณะทำงานกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเชิงรุก
4. จัดหาสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายและน้ำยาพ่นหมอกควัน 5.จัดเตรียมสื่อในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 6.จัดทำสื่อและรถประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 7.จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควันในพื้นที่   ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์โดยใช้รถประชาสัมพันธ์ 2.ติดป้ายคัทเอาท์รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในหมู่บ้าน 3. ดำเนินการรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย(BigCleaningDay) ทุกหลังคาเรือน    โดยประชาชนเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขฯ อสม. ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ วันศุกร์ของทุกสัปดาห์
4. แจกใบปลิวรณรงค์ป้องกัน โรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน 5. แจกสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน 6. เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยอสม. ผู้นำชุมชน อสม.น้อย เจ้าหน้าที่รพ.สต. และประชาชนทั่วไป จำนวน 2 หมู่บ้านๆละ 1 วัน 7. แจกครีมทากันยุงและยาฉีดพ่นฆ่ายุงตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยทีมเคลื่อนที่เร็วบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรัศมีบ้าน ผู้ป่วย 100 เมตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร (ลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง)
  2. อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์
  3. ชุมชนมีความตระหนักถึงสภาพปัญหาโรคไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
  4. ทุกหมู่บ้านมีค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 09:57 น.