กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแกนนำ อสม. ส่งต่อความรู้เสริมสร้างฟันดีสู่แม่และเด็ก 0 - 3 ปี
รหัสโครงการ 64-L3368-1(12)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,465.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 31 ธ.ค. 2564 12,465.00
รวมงบประมาณ 12,465.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0 - 3 ปี
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากในกลุ่มเด็กปฐมวัย ปัจจุบันฟันผุในเด็กเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 – 3 ปี ฟันผุทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ นอนไม่หลับ และสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เกิดภาวะเตี้ย แคระแกร็น และมีเส้นรอบวงสมองเล็กกว่าเด็กปกติได้ (สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัย, 2556) จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่าร้อยละ 52.90 ของเด็กไทยอายุ 3 ปีมีฟันผุอย่างน้อยหนึ่งซี่ มีค่าเฉลี่ยฟัน อุด ถอน (dmft) 2.8 ซี่/คน และเมื่อแบ่งลำดับตามภูมิภาคพบว่า ภาคใต้มีฟันผุมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.2 มีค่า dmft เท่ากับ 5.1 ซี่/คน (สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561)
จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัย อำเภอศรีบรรพต ปี 2558, 2559,2560 และ2561 พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบ มีฟันผุ ร้อยละ 54.9, 58.6, 67.5, และ 59.1ตามลำดับ โดยโรคฟันผุในเด็กเล็กจะลุกลามได้รวดเร็วมากทำให้เด็กจำนวนหนึ่งมีฟันผุเกือบทั้งปาก ปัญหาฟันผุส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็กเล็ก การป้องกันฟันผุที่ได้ผลดียิ่งคือการแปรงฟันให้ถูกวิธี ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และลดการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อฟันผุ ร่วมกับการส่งเสริมทันตสุขภาพ และต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ดูแลเด็กในการดูแลทันตสุขภาพร่วมด้วย จากการบูรณาการคลินิกหมอครอบครัว และเสริมสร้างภาคีเครือข่าย ทำให้ในหลาย ๆ พื้นที่ จัดตั้งทีมหมอครอบครัวเพื่อลงเยี่ยมบ้านคนในชุมชน พร้อมจัดอบรมด้านทันตสุขภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลทันตสุขภาพเด็กเล็กและคนในชุมชน แต่จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจชุมชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด ยังไม่เคยมีการจัดทำโครงการทันตสุขภาพในชุมชนมาก่อน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องทันตสุขภาพ ทำให้ไม่มีความรู้เพียงพอในการแนะนำปัญหาด้านทันตสุขภาพแก่คนในชุมชน และจากการลงสำรวจปัญหาทันตสุขภาพในชุมชนโดยการทำประชาคมหมู่บ้าน พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ ผู้ปกครองไม่มีความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหรือทำความสะอาดช่องปากได้อย่างถูกต้อง ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดคิดว่าลูกฟันยังไม่ขึ้นจึงไม่ต้องทำความสะอาด เมื่อฟันซี่แรกขึ้นก็ใช้แปรงสีฟันอย่างเดียวโดยไม่ใช้ยาสีฟัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นผลทำให้เด็กเกิดฟันผุ และผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องดูแลลูก จึงไม่สะดวกที่จะเดินทางไปพบทันตบุคลากรเพื่อรับคำแนะนำ ด้วยเหตุนี้ งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด จึงมีความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องความรู้ของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก โดยการบูรณาการแผนงานของกระทรวงสาธารณสุขในการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กแก่ผู้ปกครอง และเสริมสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อให้มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นนักจัดการทันตสุขภาพเด็กเล็กในชุมชน งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด จึงจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มเป้าหมายหลัก เพื่อออกให้บริการทันตกรรมป้องกัน เน้นการส่งเสริม เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0 - 3 ปี

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้หลังจากได้รับการอบรมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ของคะแนนทั้งหมด

80.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถปฏิบัติวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0 - 3 ปีได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถปฏิบัติวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0 - 3 ปีได้อย่างถูกต้อง โดยประเมินจากการปฏิบัติในหุ่นจำลอง

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 41 12,465.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 31 ธ.ค. 64 1.จัดโครงการอบรมแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน2.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลงเยี่ยมบ้านผู้ปกครองของเด็กอายุ 0 - 3 ปี 41 12,465.00 -

1.สำรวจเป้าหมายในกลุ่ม 0 - 3 ปี ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด 2.เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 3.กำหนดกลุ่มเป้าหมายตัวแทน อสม. หมู่ละ 5 คน ทั้ง 4 หมู่ รวมตัวแทน อสม. ทั้งหมด 20 คน 4.จัดอบรม อสม. แกนนำในด้านทันตสาธารณสุขในเด็ก 0 - 3 ปี 5.อสม. แกนนำทันตสาธารณสุขออกเยี่ยมบ้านพร้อมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 3 ปี จำนวน 41 คน 6.อสม. แกนนำทันตสาธารณสุขติดตามผลการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก 0 – 3 ปี จำนวน 41 คน 7.ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรมและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้ 2.ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ในชุมชนได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีจากการถ่ายทอดของอาสาสมัค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 10:40 น.