กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 64-L3368-1(13)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2564 31 ธ.ค. 2564 8,700.00
รวมงบประมาณ 8,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนหากไม่หลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ก่อให้เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก  ได้แก่ การมีไขมันในเลือดผิดปกติความดันโลหิตสูงมีภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากนี้ยังมีภาวะผิดปกติอื่นๆ ในกระแสโลหิตมีแนวโน้มให้เกิดการอักเสบในผนังหลอดเลือดและเกิดลิ่มเลือดแข็งตัวได้ง่ายจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพอย่างเงียบ ๆ ก่อให้เกิดโรคหลายอย่าง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายในระดับต้นๆ สาเหตุที่ก่อให้กลุ่มอาการเมตาบอลิก ได้แก่ พฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ภาวะความเครียด ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ รวมถึงปัจจัยด้านอายุ อายุเพิ่มมากขึ้นยิ่งมีผลต่อความเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิกมากขึ้น
    โรคเรื้อรังเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 189 ล้านคนและคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องการรับประทาน โรคเรื้อรังนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานคือ "กรรมพันธุ์" และ "สิ่งแวดล้อม" ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ การรักษาเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน ซึ่งทางทีมผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง       ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกายเพื่อควบคุมและลดน้ำหนักตัว ควบคุมอารมณ์ งดการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ จึงเป็นแนวทางแรกของ การต่อสู้ภาวะเมตาบอลิก ซึ่งทุกคนสามารถกระทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย ซึ่งสอดคล้องกับกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 นั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด ได้ดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,109 ราย พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 326 ราย ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นี้ขึ้นเพื่อนำกลุ่มเสี่ยงที่มีความเสี่ยงจากการคัดกรองมาอบรมให้ความรู้ โดยเน้นกิจกรรมที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ยังเป็นแกนนำในการรณรงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงต่อไปในอนาคต การส่งเสริมให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่ดี ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ประชาชนได้รับบริการและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมร้อยละ100

100.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้แก่ประชาชน

ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ร้อยละ 95

95.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ≤ร้อยละ 2.05

2.05
4 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ≥ร้อยละ30

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 8,700.00 0 0.00
1 ก.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 1. อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วย 60 8,700.00 -

๑.จัดทำโครงการ/อนุมัติโครงการ ๒.จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน อสม. อบต. ๓.ประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนปฎิบัติงาน
๔.ขึ้นทะเบียนกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง ๕.อบรมแลกให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ๖. ออกเยี่ยมบ้านติดตามเฝ้าระวัง ๗. ส่งต่อผู้รับบริการในรายที่มีปัญหาไปยังโรงพยาบาลตามขั้นตอนตามระบบการส่งต่อ เพื่อดูแลรักษา และให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
๘. ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
๙.รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานปัญหา และอุปสรรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
3.ส่งเสริมการบรรลุตามมาตรฐานงานโรคเรื้อรัง ของการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 4.กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 10:49 น.