กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 64-L3368-1(14)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 31 ธ.ค. 2564 27,950.00
รวมงบประมาณ 27,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1157 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
1,157.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินชีวิตของประชาชนในชีวิติปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลง มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน ปริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่า ทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำไปสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการดำเนินงานคัดกรองประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสวนโหนด ในปีงบประมาณ 2562 จำนวน 1,107 ราย พบว่า มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย)อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง (SBP = 120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) จำนวน 302 ราย ,มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสูง/สงสัยเป็นโรค (SBP >= 140 mmHg. หรือ DBP >= 90 mmHg.) จำนวน 55 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.28 และ 4.96 ตามลำดับ, มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสียง (100 - 125 mg/dl.) จำนวน 117 ราย ,มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสูง/สงสัยเป็นโรค (>= 126 mg/dl.) จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.56 และ 1.35 ตามลำดับดังนั้น รพ.สต.บ้านสวนโหนดได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2564 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนในเขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านสวนโหนดได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ50 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

50.00
3 เพื่อลดอัตราป่วย จากกลุ่มโรค Metabolic

ลดอัตราป่วยจากกลุ่มโรค Metabolic ในอัตรา 200 ต่อ 1,000 ประชากร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1157 27,950.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 31 ธ.ค. 64 ออกพื้นที่เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 1,157 27,950.00 -

1.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย 2.เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 3.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.ออกพื้นที่ตรวจสุขภาพ วัดความดันโลหิต เจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงประเมินค่าดัชนีมวลกาย 4.จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสมความรู้เรื่องการออกกำลังกาย 5.ติดตามกลุ่มเสี่ยงเพื่อประเมินพฤติกรรมซ้ำ ทุก 3 เดือน
6.ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง 2.กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและไม่เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และมีสุขภาพดี อัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง 3.เกิดการประชาสัมพันธ์การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมไปยังประชาชนกลุ่มอื่นๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 10:57 น.