กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟันสวยได้ด้วยมือเรา
รหัสโครงการ 64-L4156-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 34,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัสภา แบลือแบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 31 ธ.ค. 2564 34,875.00
รวมงบประมาณ 34,875.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 207 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-12 ปี มีโรคฟันผุ
69.77

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก เด็กนักเรียนโรงเรียนตำบลเกะรอ เมื่อเดือนตุลาคม 2563 พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียน 6-12 ปีมีฟันผุร้อยละ 69.77 แสดงให้เห็นว่า โรคฟันผุในทุกกลุ่มวัยเรียนสูง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการป้องกันและการรักษาหรือหยุดหยุดยั้งโรคก็จะลุกลามนำไปสู่การสูญเสียฟันต่อไปและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ปัจจัยที่ทำให้เด็กนักเรียนมีสภาวะการเกิดโรคฟันผุเป็นปัญหาค่อนข้างสูง คือการเข้าถึงบริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมมากนัก การไม่ใส่ใจในการดูแลป้องกันโรคในช่องปากของตนเอง เมื่อเป็นถึงขั้นรุนแรงจึงมาหาหมอเพื่อทำการรักษา
สำหรับสุขภาพช่องปาก จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ทำให้เห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ชัดเจน ประกอบกับปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาหลักในกลุ่มประชาชนทุกกลุ่มวัย ที่มีการสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้
  ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กวัยเรียนตำบลเกะรอ ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพที่มีคุณภาพและครอบคลุม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุโดยทันตบุคลากร

ร้อยละ 100 ของเด็กวัยเรียนได้รับการตรวจฟันโดยทันตบุคลากรและทาฟลูออไรด์วานิช

100.00
2 เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีทักษะในการแปรงฟันที่สะอาดและถูกวิธีและสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้

ร้อยละ 80 ของเด็กวัยเรียนแปรงฟันสะอาดและถูกวิธี แล้วสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้

100.00
3 เพื่อให้โรงเรียนมีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

100.00
4 เพื่อให้ความรู้ทางทันตสุขภาพแก่ครูอนามัยโรงเรียน

ร้อยละ 100 ของครูอนามัยโรงเรียนได้รับความรู้ทางทันตสุขภาพ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 207 34,875.00 1 34,875.00
15 - 19 พ.ย. 64 อบรมให้ความรู้ทันตสุขภาพแก่นักเรียน 207 34,875.00 34,875.00

กิจกรรมที่ 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 2. สำรวจตรวจสุขภาพช่องปาก เด็กนักเรียน กิจกรรมที่ 3. อบรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่เด็กวัยเรียน กิจกรรมที่ 4. หมอฟันประจำโรงเรียน 4.1 ฝึกทักษะแปรงฟันที่สะอาดและถูกวิธี 4.2 ฝึกทักษะตรวจฟันด้วยตนเอง 4.3 จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันโดยหมอฟันประจำโรงเรียน กิจกรรมที่ 5. การติดตามและประเมินผลโครงการ กิจกรรมที่ 6. สรุปโครงกา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กวัยเรียน มีความรู้เกี่ยวเรื่องทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น
  2. เด็กวัยเรียนสามารถรตรวจฟันด้วยตนเองได้
  3. เด็กวัยเรียนสามารถแปรงฟันได้สะอาดและถูกวิธี
  4. เด็กวัยเรียน มีโรคในช่องปากลดลง และสุขภาวะในช่องปากดีขึ้น
  5. เด็กวัยเรียนเห็นความสำคัญ และตระหนักเกี่ยวเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก 6.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปเผยแพร่ในชุมชนและโรงเรียนได้ 7.โรงเรียนมีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 8.โรงเรียนในตำบลเกะรอเป็นโรงเรียนต้นแบบ "โรงเรียนอ่อนหวาน"
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 11:14 น.