กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขนุน


“ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน ”

ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวภิรมร์ อินธนู นางสาวซบีนา กียะ

ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน

ที่อยู่ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-L5270-2-15 เลขที่ข้อตกลง 23/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขนุน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 64-L5270-2-15 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 31,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขนุน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพนักเรียนแบบองค์รวมภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ซึ่งการดำเนินการในปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้ ดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพนักเรียนมาอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนวัดขนุน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 3 งาน -ตารางวา สถานที่ของโรงเรียนวัดขนุน ทางทิศตะวันตก อยู่ติดถนน สงขลา-ระโนด ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร ตั้งอยู่เขตชานเมือง มีโรงเรียนอุตสาหกรรมในพื้นที่จำนวน 5 แห่ง

ปัจจุบันโรงเรียนวัดขนุน ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน จำนวน 90 คน มีผู้อำนวยการ 1 คน ข้าราชการครู 5 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน รวมบุคลากร จำนวน 8 คน อาชีพหลักของผู้ปกครอง คือ อาชีพรับจ้างร้อยละ 70 เกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 10 ประมงร้อยละ 10 อาชีพค้าขายคิดเป็นร้อยละ 10 สภาพของดินเป็นร่วมปนทราย การคมนาคมสะดวก เพราะติดถนนสายหลัก มีการใช้รถจักรยานจักรยาน จักรยานยนต์ และรถยนต์ การเดินทางและการขนส่งสะดวกมาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สภาพปัญหาในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่พบว่ามีด้านต่างๆได้แก่ ด้านสุขภาพในช่องปาก ด้านภาวทุพโภชนาการด้านโรคไข้เลือดออก ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนซึ่งมีโรงงานอยู่ในพื้นที่ จำนวน 5 โรง และด้านสารเสพติดและอุบัติเหตุจราจร โรงเรียนได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในช่องปาก ด้านภาวทุพโภชนาการ ด้านโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถลดระดับปัญหาลงได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาเร่งด่วนโดยเฉพาะ ด้านอาหารและโภชนาการซึ่งเป็ยนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ร่างกายจะเจริญเติบโต มีสุขภาพที่ดีย่อมเป็นฐานรากที่สำคัญในการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดั้งนันอาหารและโภชนาการจึงเป็นรากฐานของมนุษย์ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยชรา ดังคำกล่าวที่ว่า "กินอย่างไร เป็นเช่นนั้น (You ase what you eat)" อาหารทุกมื้อมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต อาหารกลางวันเป็นอาหารมื้อหนึ่งที่หน่วยงานของรัฐบาลให้ความสำคัญในการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมตามวัย ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน จากข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตในนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,620 คน จาก 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ตั้งแต่ปี 2555 พบว่า นักเรียนมีภาวะอ้วน จำนวน 187,000 คน เตี้ย จำนวน 254,620 คน และผอม จำนวน 99,112 คน ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักเรียนที่เตี้ยและผอม จะมีสติปัญญาด้อย เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย นักเรียนที่มีภาวะอ้วนเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง (ณรงค์ สายวงศ์,2557:1)
ในปี 2562 นอกจากโรงเรียนจะดำเนินการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามตัวชี้วัดภายใต้องค์ประกอบ 10 ประการแล้วโรงเรียนจะเน้นกระบวนการของกิจกรรมให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่เน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งการดำเนินการพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้นั้นโรเรียนจะต้องได้รับความร่วมมือ และสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ
  2. เพื่อลดภาวทุพโภชนาการให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สื่อสร้างสรรค์ทันตสุขภาพ
  2. ห้องน้ำสะอาดปลอดภัย ด้วยสมุนไพรชีวภาพ
  3. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามรอยศาสตร์พระราชา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามรอยศาสตร์พระราชา

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ปลูกผักปลอดสารพิษ

    1.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

          - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

        - แต่งตั้งคณะทำงาน

    1.2 ประชุมแกนนำนักเรียน

    1.3 ดำเนินการตามกิจกรรม

  1. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

    2.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

          - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

          - แต่งตั้งคณะทำงาน
    2.2 ประสานติดต่อวิทยากร ปรัชญาชาวบ้าน

  2.3 ดำเนินการตามกิจกรรม

  1. การจัดการขยะ

    3.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

          - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

          - แต่งตั้งคณะทำงาน

    3.2 ดำเนินการตามกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ การจัดกิจกรรมโดยมีวิทยากรเป็นปรัชญาชาวบ้าน ให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษและการจัดทำแปลงผัก โดยแบ่งในนักเรียนแกนนำและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม การปลูกผัก

สาธิตในแปลงเกษตรของโรงเรียนวัดขนุน

สิ่งที่ได้รับ

  1. นักเรียนรู้และเข้าใจการปลูกผักปลอดสารพิษ

  2. นักเรียนนำความรู้มาต่อยอดหารายได้กับครอบครัวได้

  3. นักเรียนใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์

  4. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยมีวิทยากรปรัชญาชาวบ้านให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในสถานที่จริงและได้ร่วมกับสาธิตทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยแบ่งแกนนำนักเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
    5-6 เข้าร่วมในการจัดทำกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมนักเรียนได้รับความรู้การใช้วัสดุตามธรรมชาติที่สร้างเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อบำรุงการดูแลผักปลอดสารพิษของตนเอง ทำให้ผัก

สามารถเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์น่ารับประทาน

สิ่งที่ได้รับ

  1. รู้วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

  2. สามารถนำหลักการและวิธีการมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

  3. การจัดการขยะ เป็นกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ทั้งขยะอันตราย ขยะเปียก ขยะทั่วไป และขยะที่สามารถสร้างรายได้แก่โรงเรียนและชุมชน เพื่อการจัดการขยะภายในโรงเรียนสามารถแยกขยะได้

ถูกวิธี

สิ่งที่ได้รับ

  1. นักเรียนสามารถคัดแยกได้ถูกต้อง

  2. รู้และตระหนักขยะสามารถสร้างเป็นรายได้ได้

 

0 0

2. ห้องน้ำสะอาดปลอดภัย ด้วยสมุนไพรชีวภาพ

วันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทำความสะอาด จัดบรรยากาศสุขาน่าใช้

  1.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

    - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

    - แต่งตั้งคณะทำงาน

  1.2 ประชุมแกนนำนักเรียน

  1.3 ดำเนินการตามกิจกรรม

  1. การทำเจลล้างมือ การทำสบู่เหลว

  2.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

    - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

    - แต่งตั้งคณะทำงาน

  2.2 ประสานติดต่อวิทยากร อสม. วัดขนุน

  2.3 ดำเนินการตามกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทำความสะอาด จัดบรรยากาศสุขาน่าใช้ แบ่งนักเรียนแต่ละระดับชั้นเรียนรับผิดชอบทำความสะอาดห้องทุกวัน เช่น

  - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำความสะอาดห้องน้ำ วันจันทร์

  - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำความสะอาดห้องน้ำ วันอังคาร

  - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำความสะอาดห้องน้ำ วันพุธ

  - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำความสะอาดห้องน้ำ วันพฤหัสบดี

  - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำความสะอาดห้องน้ำ วันศุกร์

สิ่งที่ได้รับ

  1. ปลูกฝังจิตสำนึกแก่นักเรียน การใช้ห้องน้ำและการดูความสะอาดห้องน้ำ

  2. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำความสะอาดห้องน้ำ

  3. นักเรียนสามารถแสดงความเป็นผู้นำในการแบ่งงานที่รับมอบหมาย

  1. การทำเจลล้างมือ การทำสบู่เหลว

  การจัดกิจกรรมทำเจลล้างมือ และการทำสบู่เหลว ได้รับความร่วมมือกับวิทยากรจาก อสม.วัดขนุน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเจลล้างมือ และการทำสบู่เหลว

สิ่งที่ได้รับ

  1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำเจลล้างมือ และการทำสบู่เหลว

  2. สามารถนำเจลล้างมือและสบู่เหลวมาใช้ในโรงเรียน

  3. สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเองและสร้างรายได้แก่ครอบครัวได้

 

0 0

3. สื่อสร้างสรรค์ทันตสุขภาพ

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เพื่อคัดกรองและวางแผนรักษา ส่งต่อเพื่อรับบริการทันตกรรม

    1.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

          - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

          - แต่งตั้งคณะทำงาน

    1.2 ประสานติดต่อ รพ.สต.วัดขนุน

    1.3 ดำเนินตามกิจกรรม

          - หน่วยงานรพ.สต.วัดขนุน คัดกรองนักเรียนและส่งต่อ เพื่อรับบริการทันตกรรม

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 การจัดทำสื่อสร้างสรรค์ เรื่องทันตสุขภาพ

    2.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

          - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

          - แต่งตั้งคณะทำงาน

    2.2 ประสานติดต่อ รพ.สต.วัดขนุน

    2.3 ดำเนินตามกิจกรรม

  1. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ทันตสุขภาพ

    3.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

          - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

          - แต่งตั้งคณะทำงาน

    3.2 ดำเนินตามกิจกรรม ฐานที่ 1 ดูวิดิทัศน์เกี่ยวกับทันตสุขภาพ

                                  ฐานที่ 2 ให้นักเรียนเล่นเกมเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน

                                  ฐานที่ 3 ฝึกทักษะสาธิตการแปรงฟันแบบปฏิบัติจริง

  1. กิจกรรมติดตามด้วยการบันทึกการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

    4.1 วางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม

          - ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

          - แต่งตั้งคณะทำงาน

    4.2 ประชุมคณะแกนนำนักเรียน

    4.3 ดำเนินตามกิจกรรม

          - บันทึกการแปรงฟันของนักเรียน

          - บันทึการเลือกรับประทานอาหารที่บ้าน ไม่ดื่มน้ำอัดลม ลูกอมและขนม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้ร่วมกับหน่วยงานรพ.สต.วัดขนุน เพื่อคัดกรองและวางแผนรักษา ส่งต่อเพื่อรับบริการทันตกรรม

  2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 การจัดทำสื่อสร้างสรรค์ เรื่องทันตสุขภาพ ได้เชิญวิทยากรจากหน่วยงาน รพ.สต.วัดขนุน ให้ความรู้เกี่ยวกับฟัน และร่วมกันจัดทำสื่อสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ทันตสุขภาพแก่นักเรียน

  3. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ทันตสุขภาพ เป็นกิจกรรมจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้แก่นักเรียน โดยมีคุณครูเป็นแกนนำในการจัดการเรียนรู้ โดยแบ่งฐานการเรียนรู้เป็น 4 ฐาน ได้แก่

  ฐานที่ 1 ให้นักเรียนดูวิดิทัศน์เกี่ยวกับทันตสุขภาพ

  ฐานที่ 2 ให้นักเรียนเล่นเกมเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน

  ฐานที่ 3 ฝึกทักษะสาธิตการแปรงฟันแบบปฏิบัติจริง

  ฐานที่ 4 ประกวดหนูน้อยฟันสวย

  1. กิจกรรมติดตามด้วยการบันทึกการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ มีแกนนำนักเรียนทำการบันทึกการแปรงฟันในแต่ละวัน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ
ตัวชี้วัด : พ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อลดภาวทุพโภชนาการให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย
ตัวชี้วัด : นักเรียนมีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ (2) เพื่อลดภาวทุพโภชนาการให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สื่อสร้างสรรค์ทันตสุขภาพ (2) ห้องน้ำสะอาดปลอดภัย ด้วยสมุนไพรชีวภาพ (3) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามรอยศาสตร์พระราชา

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-L5270-2-15

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวภิรมร์ อินธนู นางสาวซบีนา กียะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด