กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 621,286.90 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวิตรี อนันตะพงษ์
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เป็นโรคร้ายแรง พบการระบาดไปในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์ของโรค ข้อมูล ณ วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๔    พบผู้ป่วยยืนยันสะสม ๔๒,๓๕๒ ราย (ติดเชื้อในประเทศ ๓๙,๑๑๘ ราย , ผู้เดินทางจากต่างประเทศ ๓,๒๓๔ ราย) เสียชีวิต ๑๐๑ ราย ผู้ป่วยรายใหม่ ๑,๗๖๗ ราย (ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ ๑,๔๗๗ ราย ,  ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน ๒๘๘ ราย , ผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ ๒ ราย ) ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-๑๙ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จำเป็นจะต้องดำเนินการจัดสถานที่กักกัน/ควบคุมผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ  ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน และในที่ประชุมศูนย์บริหารราชการในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จังหวัดสตูล        ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๔ มีมติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดให้มีสถานที่กักกัน/ควบคุมผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง และตามคำสั่งจังหวัดสตูล ที่ ๗๒๖/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – ๑๙) จังหวัดสตูล มาตรการเกี่ยวกับการเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดสตูล ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด กรณีเป็นบุคคลที่ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานในสถานที่ที่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – ๑๙) เป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด หรือเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกันกับผู้ติดเชื้อหรือเป็นผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เมื่อเดินทางถึงบ้านพัก หรือโรงแรม ให้แจ้งและรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชน ในเขตพื้นที่ทันที และให้กักกันตัวไว้ ณ สถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) ภายใต้การดูแลของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นระยะเวลา ๑๔ วัน

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙    (COVID-๑๙) กรณีควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ขึ้น ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๙ มาตรา ๑๖ (๑๙) และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๗ (๓)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ๒.๒ เพื่อจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับใช้ในการดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ๒.๓ เพื่อให้การดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๑ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
๒.๒ เพื่อจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับใช้ในการดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
๒.๓ เพื่อให้การดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 ธ.ค. 64 กิจกรรมป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) 147 621,286.90 621,286.90
รวม 147 621,286.90 1 621,286.90
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กรณีควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
  • เสนอโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ประเภท ๑๐(๕) เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือบรรเทาภัยพิบัติหรือโรคระบาด
  • จัดเตรียมสถานที่สำหรับกักกันตัวไว้เพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ภายใต้การดูแลของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นระยะเวลา ๑๔ วัน (Local Quarantine) เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
  • มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภายในบริเวณสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา ๑๔ วัน        (Local Quarantine) ต่อการควบคุม ๑ ราย สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
  • ประมาณการจำนวนผู้ถูกกักกันเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ประมาณการไว้จำนวน ๒๐ ราย

  • ดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จำนวน ๑๔ วัน

  • สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในเขตตำบลนิคมพัฒนาได้ การดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2564 00:00 น.