กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)30 กันยายน 2564
30
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนิคมพัฒนา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กรณีควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ - เสนอโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ประเภท ๑๐(๕) เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือบรรเทาภัยพิบัติหรือโรคระบาด - จัดเตรียมสถานที่สำหรับกักกันตัวไว้เพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)  ภายใต้การดูแลของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นระยะเวลา ๑๔ วัน (Local Quarantine) เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส  โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) - มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภายในบริเวณสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา ๑๔ วัน              (Local Quarantine) ต่อการควบคุม ๑ ราย สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) - ประมาณการจำนวนผู้ถูกกักกันเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ประมาณการไว้จำนวน ๒๐ ราย - ดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จำนวน ๑๔ วัน
- สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดเตรียมสถานที่สำหรับกักกันตัวไว้เพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ณ โรงเรียนอนุบาลมะนัง (อาคารหลังเก่า)    โดยการปรับปรุงสถานที่แบบชั่วคราวจัดทำผนังกั้นห้อง พร้อมจัดทำห้องน้ำห้องส้วมภายในห้อง จำนวน    ๑๘ ห้อง  และจัดทำห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑ ห้อง                                                          .
  • ดำเนินการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ณ โรงเรียนอนุบาลมะนัง (อาคารหลังเก่า) และสถานที่กักกันตัวเพื่อสังเกตอาการกรณีพิเศษ  ภายใต้การดูแลของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นระยะเวลา ๑๔ วัน      (Local Quarantine) เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส  โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จำนวนผู้ที่เข้ารับการกักกันตัวเพื่อสังเกตอาการ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ ถึง วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ รวมจำนวน ๑๕๗ คน