กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตำบลโคกเคียนพัฒนาการดีสมวัย ปลอดภัยจากภาวะโลหิตจาง
รหัสโครงการ 64-L2492-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเรวดี รังษีโกศัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยที่พบบ่อยที่สุดคือโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  เราจะได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเป็นหลัก โดยอาหารที่พบธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ นอกจากนี้ ยังพบธาตุเหล็กได้ในผักใบเขียวและธัญพืช แต่ธาตุเหล็กในอาหารประเภทหลังนี้จะถูกดูดซึมได้ไม่ดีเท่าธาตุเหล็กจากอาหารพวกเนื้อสัตว์และอาจมีสารยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กได้ด้วย อาหารและเครื่องดื่มบางประเภทอาจมีผลยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กได้ เช่น ชา กาแฟ ผู้ที่รับประทานยาเสริมแคลเซียมก็อาจไปรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กหากรับประทานพร้อมกัน ส่วนอาหารที่วิตามินซีสูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว พบว่าช่วยการดูดซึมธาตุเหล็กให้ดีขึ้นได้บ้าง เมื่อรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กแล้ว จะเกิดการดูดซึมธาตุเหล็กต่อ โดยอาศัยความเป็นกรดในกระเพาะอาหารช่วย การดูดซึมจะเกิดที่ลำไส้เล็กส่วนต้น หลังจากนั้นจะมีโปรตีนส่งธาตุเหล็กไปตามเซลล์ต่างๆและไปเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ โดยกว่าสองในสามของธาตุเหล็กในร่างกายจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า “ฮีม” ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยในการจับกับออกซิเจนและส่งไปให้ส่วนต่างๆของร่างกายนั่นเอง ส่วนที่เหลือของธาตุเหล็กจะถูกเก็บสะสมไว้ในตับ ม้าม และไขกระดูก เราขาดธาตุเหล็กเพราะอะไร    สาเหตุของการขาดธาตุเหล็กพบได้หลากหลาย ที่พบบ่อย เช่น. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย พบได้บ่อยในเด็กทารกที่รับประทานแต่นมเพียงอย่างเดียว เนื่องจากในนมมีปริมาณธาตุเหล็กเพียงเล็กน้อย ในผู้ใหญ่ การขาดธาตุเหล็กจากการรับประทานน้อยเจอได้ไม่บ่อย การดูดซึมธาตุเหล็กผิดปกติ เป็นสาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย อาจเกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารลดลง เช่น ผู้ที่รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารนานๆหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออก ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอาลำไส้เล็กส่วนต้นออก ผู้ที่มีการอักเสบของลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง เป็นต้น  ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กในระยะแรกอาจยังไม่มีอาการใดๆ เนื่องจากมีธาตุเหล็กที่เก็บสะสมสำรองอยู่ ต่อเมื่อการขาดธาตุเหล็กนั้นเป็นมากขึ้นจึงค่อยๆเริ่มเกิดอาการ อาการอาจเป็นแบบไม่จำเพาะ เช่น รู้สึกหงุดหงิด ความคิดความอ่านไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ อาการที่เกิดได้บ่อยและทำให้แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดธาตุเหล็กได้นั้นมักเกิดจากอาการทางระบบเลือด ได้แก่การเกิดภาวะโลหิตจางนั่นเอง อาการของภาวะโลหิตจาง ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายมากขึ้นเวลาออกแรง หรือหากเป็นมากอาจมีอาการเหนื่อยเวลาอยู่เฉยๆ มีอาการเวียนศีรษะ หมดสติ ใจสั่น หัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยบางรายอาจมีคนทักว่าดูซีดลงสำหรับในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะโลหิตจากจะส่งผลต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็กอย่างเห็นได้ชัด ทำให้พัฒนาการล่าช้าและสติปัญญาการรับรู้จะช้าลงกว่าเด็กปกติ กินอาหารรสเผ็ดแล้วแสบลิ้นเนื่องจากมีลิ้นเลี่ยน ในรายที่เป็นมานานๆอาจมีเล็บผิดรูปโดยงอเป็นรูปช้อน  ซึ่งในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.โคกเคียนซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรองภาวะซีดในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 5 ปี ในปีที่ผ่านมา จำนวน 350 คนพบว่ามีภาวะซีด(ความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 32% สูงถึงร้อยละ 28 จึงเห็นว่าควรจะมีการคัดกรองที่ต่อเนื่องและเฝ้าระวังในกลุ่มเป้าหมายในเด็กกลุ่มดังกล่าวในปีนี้เพื่อป้องกันได้ทันท่วงทีและได้รับการแก้ไขภาวะซีดในเด็กอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ เด็กตำบลโคกเคียนพัฒนาการดีสมวัย ปลอดภัยจากภาวะโลหิตจางปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องภาวะโลหิตจางและการเฝ้าระวังอย่างถูกต้อง กลุ่มเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี

ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องภาวะโลหิตจางและการเฝ้าระวังอย่างถูกต้อง  ร้อยละ 95

95.00
2 เพื่อให้เด็ก อายุ 6 เดือนถึง 5 ปีได้รับการคัดกรองหาภาวะโลหิตจาง

เด็ก อายุ 6 เดือนถึง 5 ปีได้รับการคัดกรองหาภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 95

95.00
3 เพื่อให้ อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็ก 6 เดือนถึง 5 ปีและสามารถให้คำแนะนำได้ถูกต้อง

อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็ก 6 เดือนถึง 5 ปีและสามารถให้คำแนะนำได้ถูกต้อง ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 20,000.00 0 0.00
29 เม.ย. 64 อบรมผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีที่มีภาวะโลหิตจาง (ความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 32%) จำนวน 80 คน 80 11,000.00 -
29 เม.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการอสม. เรื่องการคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี จำนวน 60 คน 60 9,000.00 -

๑.กลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี

๑.๑ อบรมเชิงปฏิบัติการด้านโภชนาการที่ส่งเสริมการและป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก แก่ผู้ปกครอง

๑.๒ เฝ้าระวัง โดยการคัดกรองภาวะซีดในเด็ก อายุ 6 เดือน ถึง5 ปี (เจาะหาความเข้มข้นเลือด)

๑.๓ อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม.ในการให้ความรู้เรื่องการคัดกรองภาวะซีดในเด็กและการติดตามเฝ้าระวังให้คำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กแรกอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีมีภาวะโลหิตจางลดลง

๒.ผู้ปกครองเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี เข้าใจและ มีความรู้ในการดูแลให้บุตรหลานมีภาวะโภชนาการที่สมวัย และปลอดภัยจากภาวะโลหิตจาง

๓. อสม. มีทักษะในการตรวจคัดกรอง ภาวะโลหิตจางเบื้องต้นแก่เด็ก อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี

๔. มีกลุ่มเด็กต้นแบบ เด็กสุขภาพดี พัฒนาการสมวัยที่ผ่านการประกวดในระดับ อำเภอ และจังหวัดต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2564 15:06 น.