กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา
รหัสโครงการ 60-L8010-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา
วันที่อนุมัติ 4 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,130.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ในสังคมปัจจุบัน มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรโดยทั่วๆ ไปของคนไทย สังคมเมืองในปัจจุบันอยู่ในภาวะเศรษฐกิจแบบเสรี พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนมีการปรับเปลี่ยนตามกระแสความนิยม ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโภชนาการในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งทำให้ประชากรบางกลุ่มประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งรวมทั้งโรคภาวะโภชนาการเกินได้แก่ปัญหาโรคอ้วน ปัญหาโรคขาดสารอาหารบางชนิด การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สมดุล ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ไม่มีการออกกำลังกายทำให้คนเกือบทุกวัยที่อยู่ในเมืองและชนบท ยิ่งประสบปัญหาโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นเช่นความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจอุดตัน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม ปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว สังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และเพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ปี พ.ศ.2557-2559 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 5.84 , 5.29 , 5.90 และ 4.92 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 2 - 5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลาก็พบปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก พบว่า เด็กที่น้ำหนักค่อนข้างน้อยมีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 , เด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างมากจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3 , เด็กที่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1 และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8 รวมทั้งมีเด็กที่ไม่กินผัก จำนวน 28 คน ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลาจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2-5 ปี เนื่องจากขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการในกลุ่มเด็ก 2-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ 2-5 ปี

2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้เรื่องภาวะ โภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักและผลไม้
  1. ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้เรื่องภาวะ โภชนาการในเด็ก
  2. เด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3 เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ 100 เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์,เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก
1.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 2-5 ปี
1.2 บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู พร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ 1.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ 1.4 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร 2.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 2 – 5 ปี แก่ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และแม่ครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.2 สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ได้แก่ ไข่แปรงร่าง, ผักกร๊อบกรอบ, สมู๊ทตี้ ผัก-ผลไม้, ซูชิแฟนซี และสลักผัก เป็นต้น โดยการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง ครู เด็ก
2.3 ติดตามผลการบริโภคผักของเด็กไปยังผู้ปกครอง 2.4 คัดเลือกผู้ปกครองตัวอย่าง เพื่อเป็นต้นแบบให้กับผู้ปกครองคนอื่นๆ กิจกรรมที่ 3ติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ 3.1 เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง ขั้นสรุปผล 1. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ
2. รายงานผลการดำเนินโครงการต่อกองทุน อบต.กำแพง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 2-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการอย่างครอบคลุม
  2. ครู ผู้ปกครองและแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะทางโภชนาการเด็ก
  3. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2560 21:03 น.