กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการสนับสนุน ส่งเสริมโภชนาการและการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง ”
ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง




ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุน ส่งเสริมโภชนาการและการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L8010-3-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึง 15 กันยายน 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสนับสนุน ส่งเสริมโภชนาการและการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสนับสนุน ส่งเสริมโภชนาการและการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสนับสนุน ส่งเสริมโภชนาการและการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L8010-3-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2560 - 15 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 34,770.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย มีความสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ครูและผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพอนามัย รวมถึงเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก เพื่อขจัดเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและพัฒนาเด็กตั้งแต่ต้น เพราะเด็กปฐมวัย หรือช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบบริบูรณ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตช่วงหนึ่งของเด็ก เนื่องจากในระยะนี้ เด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเด็กมิได้มีพัฒนาการที่เด่นชัดทางด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาที่สูงขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยในชีวิตประจำวันที่อาจขัดขวางพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่า เด็กกว่า 200 ล้านคนไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มสมรรถภาพ อันเนื่องมา จากความต้องการของเด็กเหล่านี้ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก อันจะเป็นรากฐานไปสู่การมีชีวิตที่มั่นคง และห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงอันตรายรูปแบบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญร่วมมือกันป้องกันปัญหาสุขภาพของเด็ก สุขอนามัยเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สำคัญยิ่งของเด็ก สุขอนามัยที่ดีย่อมเกื้อกูลต่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็ก รวมทั้งปัญหาทางด้านโภชนาการก็เช่นเดียวกัน เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโต การได้รับอาหารต่างๆ ที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาหารสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนจึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งในขณะที่อยู่ในวัยนี้และระยะต่อไป การขาดอาหารในระยะนี้จะมีผลต่อการพัฒนาร่างกายและสมองมากที่สุด เพราะทำให้เด็กมีสติปัญญาการเรียนรู้ด้อยลง ร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่ายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเด็กอื่น พ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารให้เด็กในวัยนี้อย่างถูกต้องและเพียงพอกับความต้องการตามวัยและที่สำคัญต้องมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเด็กด้วย เพราะในบางครั้งเด็กอาจเบื่ออาหาร ห่วงเล่น ปฏิเสธอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง ตำบลกำแพง ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ ร้อยละ 69.14ฟันผุ ร้อยละ 58.75เด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 6.17 และน้ำหนักเกินเกณฑ์ 2.47 ซึ่งครูและผู้ปกครองเองก็เป็นส่วนสำคัญในการดูแลเด็ก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการให้ความรู้และส่งเสริมการดูแลเด็กให้ถูกวิธีและสุขอนามัย จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝางจึงเห็นความสำคัญและส่งเสริมให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดี มีโภชนาการที่เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุน ส่งเสริมโภชนาการและการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝางขึ้น เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝางมีการดูสุขภาพอนามัยของตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี
  2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และสนับสนุนใด้เด็กออกกำลังกายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการเด็ก
  3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 81
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี
    2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้านป่าฝางมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมวัย และมีร่างการที่แข็งแรง
    3. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้านป่าฝางมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ในทางที่ดีขึ้น

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. สุขภาพจิตดีร่างกายแข็งแรง

    วันที่ 2 ตุลาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กในศุนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย ตรวจฟัน และได้บันทึกผลการตรวจ หลังรับประทานอาหารกลางวันมีการส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันทุกวัน และจัดกิจกรรมออกกำลังกาย " กีฬาพาเพลิน " เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการของเด็ก

     

    84 84

    2. อบรมให้ความรู้ครู ผู้ปกครองและผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครู ผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพและอนามัยเกี่ยวกับเด็ก และเรื่องโภชนาการสำหรับเด็ก 2-5 ปี และได้จัดทำคู่มือเกี่ยวกับผักและประโยชน์ของผัก

     

    85 85

    3. เมนูสำหรับหนูน้อย

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูผู้ดูแลเด็ก เด็กและผู้ปกครอง ได้รับการสอน/สาธิต การทำเมนูแปรรูปอาหาร ได้แก่ เมนูปั่น ผักกรอบ ไข่ไดโนเสาร์ ทำให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้

     

    165 165

    4. การจัดทำรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ครู ผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกี่ยวกับด้านการดูแลสุขภาพ สุขอนามัยและโภชนาการที่สมวัย จากการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ครู ผุ้ปกครองและผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกี่ยวกับด้านการดูแลสุขภาพ สุขอนามัยและโภชนาการที่สมวัย โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 85 คน จากแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจก่อนการอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้  ร้อยละ 82.53 หลังจากที่ได้เข้ารับการอบรมให้ความรู้ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 91.15
    กิจกรรมที่  2 ด้านสุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง จากการประเมินเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ร้อยละ 82.10 เด็กมีสุขอนามัยที่ดี โดยสามารถแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านสุขภาพจิต คิดเป็นร้อยละ 82.00 ด้านฟันสวย ยิ้มใส คิดเป็นร้อยละ 75.36 ด้านความสะอาดฟัน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 75.77 กิจกรรมที่ 3 เมนูสำหรับหนูน้อย เพื่อสนับสนุนให้เด็กกินผักและผลไม้ จากการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของเด็กก่อนจะทำการสอน/สาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพหนูน้อย พร้อมทั้งแปรรูปอาหารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของเด็ก จากการประเมินตามแบบประเมิน/สอบถามพฤติกรรมการรับประทานผักและผลไม้ ก่อนเข้ารับการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักและผลไม้ และการกินอาหาร พบว่า พฤติกรรมการรับประทานผักและผลไม้ และการกินอาหารของเด็ก คิดเป็นร้อยละ 67.63  และหลังจากได้เข้ารับการอบรมให้ความรู้สาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพหนูน้อย พร้อมทั้งแปรรูปอาหารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของเด็ก พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 85.21

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี
    ตัวชี้วัด : ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัย และสามารถนำความรู้ ไปใช้เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย ของเด็กปฐมวัย ได้อย่างถูกวิธี
    91.15

     

    2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และสนับสนุนใด้เด็กออกกำลังกายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการเด็ก
    ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายที่ดี และรู้จักการออกกำลังกายเพื่อการพัฒนากล้ามเนื้อ มัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการแห่งวัย
    75.77

     

    3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้
    ตัวชี้วัด : เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝางไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้
    85.21

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 81
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 81
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี (2) เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และสนับสนุนใด้เด็กออกกำลังกายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการเด็ก (3) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการสนับสนุน ส่งเสริมโภชนาการและการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L8010-3-02

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด