กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูมะพร้าวใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 60-L5313-2-46
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 23,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
พี่เลี้ยงโครงการ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยได้รับผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษกิจ สังคม การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคมตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาซึ่่งทำให้วีถีการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนแปลไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สมดุล เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านอากาศ น้ำ อาหาร ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แออัด และมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรค จากการดำเนินชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ขาดความสนใจและละเลยต่อการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะสุขภาพของเด็กและเยาวชน เช่น มีการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ขาดความเอาใจใส่ในเรื่องสุขบัญญัติ และสุขภาพองค์รวม(Holistic Health System ) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การที่จะมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนและสุขภาพดีถ้วนหน้า ต้องนำเอาหลักการสุขภาพองค์รวมมาแก้ไขปัญหา โดยมองว่าสุขภาพมิใช่เป็นเพียงการตั้งรับเพื่อซ่อมสุขภาพเท่านั้น แต่ควรส่งเสริมสนับสนุุนให้เกิดการดููแลสุขภาพ โดยให้ประชาชนามารถสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคนเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงตาย การมีสุขภาพที่ดีย่อมก่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามรถ มีประสิทธิภาพและคุณภาพงานอย่างเต็มที่ และการมีสุขภาพที่ดีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย เด็กวัยเรียนและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนา ดัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชดำรัสว่า "เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธำรงรักษาความสุขสงบของประชากรโลก" จากพระราชดำรัสมองเห็นได้ว่า เด็กและเยาวชนเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อจากผู้ใหญ่ ในฐานะครู ผู้ปกครอง เป็นบุคคลที่มีความสำคัญ ในการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมให้เด็กทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ดังนั้นเด็กและเยาวชนควรได้รับการส่งเสริมดูแล เรื่องการจัดการด้านโภชนาการ การบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การออกกำลังกาย การเสริมสร้างสุขภาพ และสุขภาพองค์รวม การที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง มีความรู้และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก และรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของเด็กเล็กฟันดี และการให้ความรู้ด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้กับผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง ๕ ด้าน เหมาะสมตามวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตของประเทศชาติ
โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ในฐานะสถาบันที่พัฒนาเด็กและเยาวชน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักตามประกาศอนุกรรมการส่งเสริมป้องกันโรคฯพ.ศ.๒๕๕๗ ที่ต้องส่งเสริมพัฒนาการ กระบวนการเรียนรู้และประสบการณ์ ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์ในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยก่อนเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนา การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆเพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนเด็กในฐานะผู้ปกครองจึงได้จัดทำรายงานเสนอผลในการดำเนินโครงการหนูมะพร้าวใส่ใจสุขภาพ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เพื่อพัฒนาต่อยอดโครงการในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พ่อแม่ผู้ปกครองด็กปฐมวัย และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

พ่อแม่ผู้ปกครองด็กปฐมวัย และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ ร้อยละ ๘๐

2 พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ด้านโภชนาการ อาหารที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสุขภาพเด็ก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัย

พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ด้านโภชนาการ อาหารที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสุขภาพเด็ก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัย

3 พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัย

พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัย ได้ร้อยละ ๙๐

4 เด็กปฐมวัย ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน

เด็กปฐมวัย ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ ๑๐๐

5 เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เหมาะสมตามวัย

เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เหมาะสมตามวัย ร้อยละ ๗๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : พ่อแม่ผู้ปกครองด็กปฐมวัย และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ด้านโภชนาการ อาหารที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสุขภาพเด็ก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เด็กปฐมวัย ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เหมาะสมตามวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.เสนอโครงการ 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินตามโครงการ 4.ประเมินผลโครงการ 5.สรุปรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเต็มศักยภาพ 2.เด็กปฐมวัยมีความกล้าแสดงออกมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน 3.ผู้ปกครองและครูมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะนิสัยให้กับเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2560 10:33 น.