กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L3062-001-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 17,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุทธิมา พิชัยงวงศ์ธรรมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ตำบลคอลอตันหยง พบว่าในปี 2561-2562พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 3 ราย และปี 2563 พบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย เป็นเด็กผู้ชายอายุ 9 เดือน ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 จากรายงานสถานการณ์ของโรคทั้งในตำบลคอลอตันหยงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในทุกพื้นที่ทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบจำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจกันทำจึงจะส่งผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างแท้จริง และจำเป็นต้องเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดร่วมกับองค์กรเครือข่ายสร้างสุขภาพภาคประชาชนภาครัฐและภาคท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคและสนับสนุนการแก้ปัญหาสาธารณสุขควบคู่ไปกับการป้องกันโรคเพื่อสู่เป้าหมายของเมืองไทยสุขภาพดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 100

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 100

4.00 0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง

 

100.00 100.00
3 เพื่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคไข้เลือดออก เช่น องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ เครือข่ายสร้างสุขภาพระดับตำบล

 

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 63พ.ย. 63ธ.ค. 63ม.ค. 64ก.พ. 64มี.ค. 64เม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64ก.ย. 64ต.ค. 64พ.ย. 64ธ.ค. 64ม.ค. 65ก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 .(12 พ.ค. 2565-12 พ.ค. 2565) 0.00                                                
รวม 0.00
1 . กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 176 17,875.00 3 17,875.00
11 พ.ค. 65 จัดประชุมเชิงปฎิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม.ผู้นำชุมชน ผู้นำแกนนำสุขภภาพประจำครอบครัว (กสค) เรื่องโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมควบคุมโรค 100 10,000.00 10,000.00
12 พ.ค. 65 - 14 มิ.ย. 65 จัดประชุมชี้่แจง อสม.ในการออกสำรวจลูกน้ำยุงลาย 36 3,875.00 3,875.00
15 มิ.ย. 65 จัดเวทีถอดบทเรียนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ 40 4,000.00 4,000.00

1.จัดประชุมเชิงปฎิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม., ผู้นำชุมชน, แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว (กสค.) รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรค จำนวน 100 คน 2.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้.อสม.ในการออกสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตามครัวเรือนในเขตรับผิดชอบ โดยใช้แบบบันทึก และอธิบายความสำคัญ วัตถุประสงค์ของโครงการ ฯ รวมทั้งวิธีการกำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุง อย่างต่อเนื่อง เดือนละ 1 ครั้ง
3.เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น คว่ำ ฝัง เผา เศษวัสดุที่เก็บน้ำ ปิดฝาตุ่ม / แทงค์น้ำ ด้วยฝาปิดมิดชิด มีการระบายน้ำขัง การใส่สารเคมีในภาชนะที่มีน้ำขัง (แจกัน จานรองกระถาง จานรองขาตู้กับข้าว) ขัดล้างภาชนะเก็บกักน้ำในห้องน้ำทุกห้องน้ำ ปล่อยปลากินลูกน้ำ ใส่ทรายอะเบท บริเวณบ้าน โรงเรียน มัสยิด ศพด.หมู่บ้านละ 1 ครั้ง 4.ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารในชุมชน โรงเรียน มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5.ประชุมเชิงปฎิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย ทั้งในบ้านเรือนและชุมชน 3.ประชาชนมีความรู้ ตระหนักและร่วมมือแข่งขันกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องมากขึ้น กว่าเดิม 4.โรงเรียน ชุมชน มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นเขตปลอดลูกน้ำยุงลาย 5.ค่า HI < 10 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 และค่า CI = 0 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และไม่มีประชาชนสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก 6.ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคไข้เลือดออก เช่น องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ เครือข่ายสร้างสุขภาพระดับตำบล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564 12:21 น.