กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว
รหัสโครงการ 60-L5313-2-47
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีเด็กสากล พุทธศักราช 2522 พระราชดำรัสว่า "เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบ ในการธำรงรักษาความสุขสงบของประชากรโลก" จากพระราชดำรัสมองเห็นว่า เด็กและเยาวชนเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อจากผู้ใหญ่ ในฐานะครู ผู้ปกครองเด็ก เป็นบุคคลที่มีความสำคัญ ในการปลูกฝังและเตรียมความพร้มให้เด็กทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา เด็กและเยาวชนควร ได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของตนเอง การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การเสริมสร้างสุขภาพ การออกกำลังกาย การดูแลให้ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวม ตลอดจนเป็นบุคคลที่สามารถเป็นตัวอย่างมีภาวการณ์เป็นผู้นำในเรื่องการปฏิบัติตามสุขบัญญัติที่ดีได้ เด็กต้องได้รับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและถูกต้อง ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ากระแสโลกรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคมตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สมดุล การขาดความสนใจและละเลยต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันืบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพ โดยให้ประชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้ายตนเอง เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน เริ่มตั้งแต่เกิดจนคงตาย การมีสุขภาพที่ดีย่อมก่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ มีประสิทธิภาพแลัคุณภาพงานเต็มที่ และการมีสุขภาพดีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ประกอบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา ทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วยความมั่นใจ และการส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมถึงสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่ส่งเสริมการมีสุขนิสัยที่ดีของเด็กวัยเรียนฉะนั้นการดำเนินกิจกรรมงานส่งเสริมทันตสุขภาพ เป็นการพัฒนาเด็ก การพัฒนาแกนนำการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสิมสุขภาพนักเรียน อาที การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลจามสุขบัญญัติ สุขภาพทันตะของตนเอง ทักษะในการแปลงฟัน ต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างมีสวนร่วม ทั้งจากคณระครู ผู้ปกครอง หน่วยงสยมาเกี่ยวข้อง การที่เด็กวัยเรียนในสถานศึกษาต่างๆที่ตระหนักถึงเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและการบริโภคอาหาร มารวมกลุ่มกัน ตั้งเป็นชมรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ในโรงเรียน กิจกรรม อย.น้อย เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมนักเรียนที่เป็นอาสาสมัครในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน การรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจมองเป็นความสำคัญการดูแลทันตสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย การรู้จักเลือกบริโภค การรู้จักเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์ มีส่วนให้เกิดพัฒนาการทางด้านสมอง มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด อารมณ์แจ่มใส กระตือรือร้น ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ง่าย ผิดกับผู้ที่รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ พัฒนาการด้านสติปัญญาลดน้อยลง อารมณ์หดหู่ไม่แจ่มใส จนบางครั้งอาจไม่สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างปกติสุข ให้แก่เด็กวัยเรียน ผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ นอกจากการส่งเสริมข้างต้นกิจกรรมสัญจรปลอดภัยบนถนนเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลได้กำหนดให้เรื่องความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ และมอบหมายให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ต่อมาคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนตามกรอบของ 5 เสาหลักแห่งความปลอดภัยขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วย เสาหลักที่ 1 การบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน เสาหลักที่ 2 ถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย เสาหลักที่ 4 การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เสาหลักที่ 5 การตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ สถานศึกษา เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันและอุบัติเหตุทางถนน และส่งเสริมการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนเรียนรู้การใช้รถใช้ถนนที่มีจิตสำนึกที่ดีในการรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น จุดประกายทางความคิดทำให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนภายในตัวของเด็กและเยาวชนสามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำความรู้แนวคิดที่ได้รับไปถ่ายทอดหรือขยายผลแก่เยาวชนคนอื่นๆ รวมทั่งบุคคลรอบข้าง ได้แก่ ครอบครัว ญาติ เพื่อน ชุมชน โดยการสร้างเครือข่ายแก่สังคมโดยรอบต่อไป โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ในฐานะสถาบันที่พัฒนาเด็กและเยาวชน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ต้องการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย กระบวนการเรียนรู้ ความฉลาดทางอารมณ์ การป้องกันและลดปัญหาด้านสารเสพติด ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ฝึกอบรม ให้ความรู้ ในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาการของเด็กวัยเรียน ส่งเสริมเด็กวัยเรียนมีภาวะผู้นำและมีสุขภาพช่องปากที่ดี ปฏิบัติตนในการพัฒนาการและสุขบัญญัติที่ดีที่ถูกต้อง ผู้ปกครองมีความรู้ส่งเสริมพัฒนาการและสุขบัญญัติที่ดี เด็กสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง การปลูกผังพฤติกรรมสุขภาพทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม เป็นตัวอย่างที่จะนำความรู้ แนวคิดที่ได้รับไปถ่ายทอดหรือขยายผลแก่เด็กและเยาวชนคนอื่นๆ รวมทั้งบุคคลรอบข้าง ได้แก่ ครอบครัว ญาติ เพื่อนสนิท ชุมชน โดยการสร้างเครือข่ายแก่สังคม การเพิ่มพูนความรูู้และทักษะด้านต่างๆเพื่อให้สามารถปฏิบัติตนเองและดูแลเด็กเยาวชนได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนเด็กในฐานะผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนปฏิบัติตนเองและถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ ร้อยละ 90

2 เพื่อให้ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องส่งเสริมสุขภาพและสุขบัญญัติที่ดีกับเด็กวัยเรียน

ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องส่งเสริมสุขภาพและสุขบัญญัติที่ดีกับเด็กวัยเรียน ร้อยละ 90

3

 

4

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องส่งเสริมสุขภาพและสุขบัญญัติที่ดีกับเด็กวัยเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 :

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 :

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.วางแผนการดำเนินงาน 2.ดำเนินการตามแผน 3.เสนอโครงการห้วยมะพร้าวรักสุขภาพ 4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.ประเมินโครงการ 6.สุปรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวได้รับการพัฒนาการและภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น 2.เด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวมีภาวะผู้นำและมีสุขภาพช่องปากที่ดี 3.เด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวปฏิบัติตนในการพัฒนาและภาวะโภชนาการที่ถูกต้อง 4.ผู้ปกครองมีความรู้ สามารถส่งเสริมพัฒนาการและภาวะโภชนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2560 14:58 น.