กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านคูรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5211-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางกล่ำ
วันที่อนุมัติ 27 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2565
งบประมาณ 36,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรียาภรณ์ วรรณชาติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2564 31 ธ.ค. 2564 36,700.00
รวมงบประมาณ 36,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างต่อเนื่องตามแผนงานแก้ไขปัญหาผู้เสพ ผู้ติด ยาเสพติด โดยการนำผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในระบบที่เหมาะสม โดยผ่านกระบวนการจำแนกคัดกรอง และนำเข้าบำบัดรักษาตามระดับความรุนแรงของการใช้ยาเสพติด พร้อมทั้งมีการติดตามดูแลช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาได้กลับไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบำบัด (CBTx) และการดำเนินการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harmฯ) จากสถิติการจับกุมคดียาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสงขลา ไตรมาสที่ 1 ห้วงตุลาคม – ธันวาคม 2562
มีการจับกุมทั้งสิ้น จำนวน 3,574 คดี ผู้ต้องหา 3,808 ราย โดยมีสถิติการจับกุมมากเป็นอันดับ 1 ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ในจังหวัดสงขลา อ.หาดใหญ่ ยังคงเป็นอำเภอที่มีการจับกุมสูงที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบห้วงเวลาเดียวกันกับปีงบประมาณที่ผ่านมา พบว่าอำเภอบางกล่ำมีการจับกุมสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาในห้วงเดียวกัน โดยเพิ่มจาก 84 คดีเพิ่มเป็น 98 คดี จากสถิติการจับกุมคดียาเสพติดจำแนกรายอำเภอ ซึ่งประเด็นสารเสพติดเป็นประเด็นที่ทาง พชอ. อำเภอบางกล่ำ ให้ความสำคัญ มีการร่วมงานทุกภาคีย์เครือข่าย ทางกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลบางกล่ำเห็นความสำคัญของปัญหา จึงเขียนโครงการบ้านคูรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564
เพื่อให้เกิดการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดในอำเภอบางกล่ำ โดยชุมชนมีส่วนร่วม(CBTx) ผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดในชุมชน ได้รับการจำแนกคัดกรอง และนำเข้าสู่การบำบัดรักษา ฟื้นฟู รับ-ส่งต่อ และดูแลช่วยเหลืออย่างมีคุณภาพ ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดอำเภอบางกล่ำ โดยชุมชนมีส่วนร่วม(CBTx)

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดได้รับการจำแนกคัดกรอง และนำเข้าสู่การบำบัดรักษา ฟื้นฟู รับ-ส่งต่อและดูแลช่วยเหลืออย่างมีคุณภาพ

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด และนำความรู้ไปถ่ายทอดผู้อื่นได้

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้นและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 จัดทำเวทีประชาคม และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 750.00 0 0.00
8 มิ.ย. 64 จัดทำเวทีประชาคม และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 30 750.00 -
2 ประชาสัมพันธ์ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด ทำ MOU ร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ระบบสมัครใจ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 2,250.00 1 1,000.00
16 มิ.ย. 64 ประชาสัมพันธ์ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านยาเสพติด ทำ MOU ร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ระบบสมัครใจ 50 2,250.00 1,000.00
3 ประชุมวางแผนกำหนดมาตรการทางสังคม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 750.00 0 0.00
16 มิ.ย. 64 ประชุมวางแผนกำหนดมาตรการทางสังคม 30 750.00 -
4 กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 24,200.00 2 7,500.00
10 มิ.ย. 64 กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันให้ความรู้ เยาวชนและนักเรียน เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด 50 10,250.00 6,000.00
25 มิ.ย. 64 กิจกรรมเดินรณรงค์วันต่อต้านยาเสพติดโลก 0 1,500.00 1,500.00
14 ก.ค. 64 ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องพิษภัยจากยาเสพติด 1 (ครึ่งวันบ่าย) และคัดกรอง ค้นหา ผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดในชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด 50 2,450.00 -
2 - 13 ส.ค. 64 กิจกรรมค่ายบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน เพื่อเป็นการฟื้นฟูร่างกายจิตใจ กลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคม 100 10,000.00 -
5 กิจกรรมคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สร้างเครือข่ายและการจัดระบบการเฝ้าระวังให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 8,750.00 0 0.00
8 ก.ย. 64 กิจกรรมคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สร้างเครือข่ายและการจัดระบบการเฝ้าระวังให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืน 50 8,750.00 -
  1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมประชุม ปรึกษา วางแผน จัดทำขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. จัดทำเวทีประชาคม และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชนท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา ประชาชน
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงาน และบันทึกข้อตกลงร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา
  5. สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ค้นหาผู้เสพ เน้นบำบัดฟื้นฟู
  6. ร่วมกันกำหนดมาตรการ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  7. สรุปแบบประเมินผลกิจกรรมโดยนำผลการประเมินไปเทียบกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยจัดเวทีถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดกติกาในชุมชน คัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สร้างเครือข่ายและการจัดระบบการเฝ้าระวังให้กับชุมชนเพื่อความยั่งยืน
  8. รายงานผลการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดในอำเภอบางกล่ำ โดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx)
  2. ผู้เสพและผู้ติดสารเสพติดในชุมชน ได้รับการจำแนกคัดกรอง และนำเข้าสู่การบำบัดรักษา ฟื้นฟู รับ-ส่งต่อ และดูแลช่วยเหลืออย่างมีคุณภาพ
  3. ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 20:30 น.