กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-ศ2497-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ
วันที่อนุมัติ 10 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 62,680.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาดีหะห์ สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี
65.02
2 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี
15.19

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศการทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smearได้มีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ80 ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและอัตราตายจากโรค มะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด ส่วนโรคมะเร็งเต้านมผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านมในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งเต้านมรอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
กระทรวงสาธารสุขได้กำหนดตัวชี้วัดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ 2563 คิดเป็นร้อยละ 20 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งในปีพ.ศ. 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 1,521 ราย ได้รับการตรวจคัดกรอง 231 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.19(ข้อมูล HDC วันที่ 09 พฤศจิกายน 2563) พบผู้ป่วยระยะก่อนมะเร็งจากการคัดกรอง จำนวน 9 ราย (ข้อมูลปี 2558 - 2563)และได้รับการรักษาที่เหมาะสม สามารถควบคุมได้ไม่กลายเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ไม่เกิดการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี2563 จำนวน 1,521ราย ได้รับการตรวจคัดกรอง 989 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.02 (ข้อมูล HDC วันที่ 09 พฤศจิกายน 2563)พบความผิดปกติที่ส่งพบแพทย์ 7 ราย ที่ไม่พบความผิดปกติอาจเกิดจากตรวจโดยตนเองไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่ซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะเห็นความสำคัญ จึงได้มีการดำเนินโครงการสตรีตำบลตะปอเยาะ ป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมขึ้นโดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-60ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยแยกรายหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ 1 บ้านตะโละมีญอ 50 คน หมู่ 2 บ้านบูเกะบากง 50 คน หมู่ 3 บ้านบลูกา 50 คน หมู่ 4 บ้านบลูกาสนอ 50 คน หมู่ 5 บ้านกูยิ 50 คน

-กลุ่มสตรีอายุ 30 -60 ปีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

55.00 80.00
2 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250 คน ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และส่งต่อในรายที่มีผลการตรวจผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
  • สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 100  ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear
15.19 100.00
3 3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250คนได้รับการคัดกรองโรคเต้านมโดยตนเองและเจ้าหน้าที่ ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

-สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดยตนเองและส่งต่อโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ร้อยละ 100

65.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 ก.ค. 64 การจัดซื้อชุดโมเดลเต้านมเทียมสำหรับสาธิตการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 0 6,980.00 0.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดซื้อผ้าถุงสำหรับผู้รับบริการผลัดเปลี่ยนก่อนเข้ารับบริการตรวจ pap smear 0 30,000.00 62,680.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0 700.00 0.00
19 - 30 ก.ค. 64 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในหมู่บ้าน 5 หมู่ ๆ ละ 50 คน 0 25,000.00 0.00
รวม 0 62,680.00 4 62,680.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม
  2. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear รายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมลดอัตราป่วยตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรี
  3. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปีได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดยตนเองและเจ้าหน้าที รายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมลดอัตราป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมในสตรี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 07:43 น.