กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะเด็กนอกระบบในพื้นที่ตำบลสะเอะ
รหัสโครงการ 64 – L4114 -02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะเอะ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเราะมาน เทษา
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 เม.ย. 2564 4 เม.ย. 2564 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจากการสำรวจของ กสศ. ร่วมกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในเดือนกันยายน 2562 พบว่า มีเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่มีอายุระหว่าง 2-21 ปี เฉพาะใน 20 จังหวัด จำนวน 867,242คน แบ่งเป็น เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2-6 ปี จำนวน 242,002 คน ช่วงอายุ 7-17 ปี จำนวน 177,383 คน และอายุระหว่าง 18-21 ปี จำนวน 447,846 คน โดยในพื้นที่จังหวัดยะลามีเด็กและเยาวชนนอกระบบจำนวน 34,991 คน
สาเหตุการหลุดออกจากระบบมีหลากหลาย สาเหตุแรก ๆ คือความยากจน (จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความยากจนสูงเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศ) ต้องช่วยครอบครัวไม่สะดวกในการเดินทางเพราะบ้านอยู่ไกลโรงเรียน ต้องย้ายบ้านบ่อย ติดเพื่อนหรือ ติดยาเสพติด ตั้งครรภ์และตั้งครอบครัวเรียนไม่รู้เรื่อง หลายคนออกจากโรงเรียนแล้วการอ่านเขียนยังใช้ไม่ได้ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งคือไม่คุ้นกับภาษาไทยที่เป็นสื่อการเรียนการสอนด้วยภาษาแม่คือภาษามลายูถิ่น ฯลฯ สรุปได้ว่าแม้รัฐจะ “บังคับ” ให้เรียน และมีแรงจูงใจ เช่น อาหารกลางวันฟรี ก็ตามทีแต่ความไม่สะดวก ความเบื่อหน่าย และสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กและเยาวชนถอนตัวออกจากระบบ จากการสอบถามเบื้องต้นถึงความต้องการของเด็กนอกระบบการศึกษา พบว่ามีความต้องการในด้านทุนการศึกษา การฝึกอาชีพ การอุปถัมภ์ดูแลครอบครัว การช่วยเหลือด้านกฎหมาย การให้การคุ้มครองสิทธิต่างๆ การส่งบำบัดรักษา การย้ายไปยังพื้นที่นอกจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กนอกระบบจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ.ร่วมกับห้องเรียนกัมและสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลสะเอะ จำนวน 109 คน พบว่าสาเหตุสำคัญร้อยละ 52.29 เกิดจากความยากจน 19.26 ถูกผลักออกจากนอกระบบ 14.67 ปัญหาครอบครัว 7.33 ไม่ได้รับสวัสดิการ ร้อยละ 4.58 ปัญหาสุขภาพมีความต้องการสนับสนุนทักษะทางสังคม ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดร้อยละ 45.87 ทักษะการจัดการอารมณ์ร้อยละ 4.36ทักษะสุขภาพทางเพศ 1.83 เด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา บางคนจะว่างงานใช้เวลากับการเล่นเกมส์ บางคนเข้าสู่แรงงานนอกระบบ เช่นแรงงานก่อสร้างแรงงานเกษตร ซึ่งจะมีเป็นช่วงๆ เด็กและเยาวชนขาดความรู้ในสุขลักษณะในการดูแลตนเอง การขาดความรู้ในช่วงเหตุวิกฤติสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด รวมถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินโครงการกิจกรรมนี้เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชน

 

0.00 0.00
2 2.เพื่อลดภาวะความเครียดและรู้จักการจัดการทางอารมณ์

 

30.00 15.00
3 3.เพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ด้านสุขภาวะของเด็กและเยาวชนนอกระบบ

มีศูนย์เรียนรู้

1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 - 7 ก.ค. 64 1.กิจกรรมการประชุมวางแผนการดำเนินงาน 0 1,050.00 -
1 - 30 ก.ค. 64 5.กิจกรรมสื่อเรียนรู้ 0 2,000.00 -
9 ก.ค. 64 2.กิจกรรมฝึกอบรมการดูแลสุขภาพและการจัดการอารมณ์ 0 6,500.00 -
16 ก.ค. 64 - 16 มิ.ย. 64 3.กิจกรรมทุุกมื้อให้ผักนำ เราทำได้ 0 6,300.00 -
23 ก.ค. 64 4.กิจกรรมรู้รอด ปลอดโควิด-19 0 4,150.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาและกลุ่มแรงงานเยาวชนนอกระบบได้รับการดูแล 2.สามารถบรรเทาปัญหาภาวะความเครียดและการใช้เวลาอย่างมีคุณค่า 3.มีสุขลักษณะและสุขภาพจิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2564 10:22 น.