กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาวะเด็กนอกระบบในพื้นที่ตำบลสะเอะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะเอะ

1.นายอับดุลฮาฟีสหะมิมะดิง
2.นายอับดุลเราะห์มานเทษา
3.นางสาวฟาฮาดา ลัสสะมานอ
4.นางสาวสากีนาดีสุมะ
5.นายนาร์ดินเทษา

ตำบลสะเอะอำเภอกรงปินังจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานแรงงานนอกระบบ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจากการสำรวจของ กสศ. ร่วมกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในเดือนกันยายน 2562 พบว่า มีเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่มีอายุระหว่าง 2-21 ปี เฉพาะใน 20 จังหวัด จำนวน 867,242คน แบ่งเป็น เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2-6 ปี จำนวน 242,002 คน ช่วงอายุ 7-17 ปี จำนวน 177,383 คน และอายุระหว่าง 18-21 ปี จำนวน 447,846 คน
โดยในพื้นที่จังหวัดยะลามีเด็กและเยาวชนนอกระบบจำนวน 34,991 คน
สาเหตุการหลุดออกจากระบบมีหลากหลาย สาเหตุแรก ๆ คือความยากจน (จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความยากจนสูงเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศ) ต้องช่วยครอบครัวไม่สะดวกในการเดินทางเพราะบ้านอยู่ไกลโรงเรียน ต้องย้ายบ้านบ่อย ติดเพื่อนหรือ ติดยาเสพติด ตั้งครรภ์และตั้งครอบครัวเรียนไม่รู้เรื่อง หลายคนออกจากโรงเรียนแล้วการอ่านเขียนยังใช้ไม่ได้ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งคือไม่คุ้นกับภาษาไทยที่เป็นสื่อการเรียนการสอนด้วยภาษาแม่คือภาษามลายูถิ่น ฯลฯ สรุปได้ว่าแม้รัฐจะ “บังคับ” ให้เรียน และมีแรงจูงใจ เช่น อาหารกลางวันฟรี ก็ตามทีแต่ความไม่สะดวก ความเบื่อหน่าย และสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กและเยาวชนถอนตัวออกจากระบบ จากการสอบถามเบื้องต้นถึงความต้องการของเด็กนอกระบบการศึกษา พบว่ามีความต้องการในด้านทุนการศึกษา การฝึกอาชีพ การอุปถัมภ์ดูแลครอบครัว การช่วยเหลือด้านกฎหมาย การให้การคุ้มครองสิทธิต่างๆ การส่งบำบัดรักษา การย้ายไปยังพื้นที่นอกจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กนอกระบบจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ.ร่วมกับห้องเรียนกัมและสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลสะเอะ จำนวน 109 คน พบว่าสาเหตุสำคัญร้อยละ 52.29 เกิดจากความยากจน 19.26 ถูกผลักออกจากนอกระบบ 14.67 ปัญหาครอบครัว 7.33 ไม่ได้รับสวัสดิการ ร้อยละ 4.58 ปัญหาสุขภาพมีความต้องการสนับสนุนทักษะทางสังคม ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดร้อยละ 45.87 ทักษะการจัดการอารมณ์ร้อยละ 4.36ทักษะสุขภาพทางเพศ 1.83
เด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา บางคนจะว่างงานใช้เวลากับการเล่นเกมส์ บางคนเข้าสู่แรงงานนอกระบบ เช่นแรงงานก่อสร้างแรงงานเกษตร ซึ่งจะมีเป็นช่วงๆ เด็กและเยาวชนขาดความรู้ในสุขลักษณะในการดูแลตนเอง การขาดความรู้ในช่วงเหตุวิกฤติสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด รวมถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินโครงการกิจกรรมนี้เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชน

 

0.00 0.00
2 2.เพื่อลดภาวะความเครียดและรู้จักการจัดการทางอารมณ์

 

30.00 15.00
3 3.เพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ด้านสุขภาวะของเด็กและเยาวชนนอกระบบ

มีศูนย์เรียนรู้

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมการประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมการประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการดำเนินงาน -ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ * 10 คนๆละ 35บาทเป็นเงิน 350 บาท -ค่าอาหารเที่ยง 1 มื้อ * 10 คนๆละ 70บาทเป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 7 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แผนงานกิจกรรม 2.อาสาสมัครครูนอกระบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมฝึกอบรมการดูแลสุขภาพและการจัดการอารมณ์

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมฝึกอบรมการดูแลสุขภาพและการจัดการอารมณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การจัดการอารมณ์(ความเครียด) 2.คัดกรองสุขภาพจิตด้วย PHQ 3.ประเมินสุขภาพ - ค่าอาหาร1มื่้อๆละ 25 คนๆละ 70 บาทเป็นเงิน1,750บาท - ค่าอาหารว่าง 2มื้อๆละ 25 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน1,750บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กรกฎาคม 2564 ถึง 9 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70  มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและการจัดการอารมณ์ มีข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น และข้อมูลภาวะซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมทุุกมื้อให้ผักนำ เราทำได้

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมทุุกมื้อให้ผักนำ เราทำได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารโดยให้มีผักนำ - ค่าอาหาร1มื่้อๆละ 25 คนๆละ 70 บาทเป็นเงิน1,750บาท - ค่าอาหารว่าง 2มื้อๆละ 25 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน1,750บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,800บาท 2.กิจกรรมถั่วงอกคอนโด - ค่าวัสดุอุปกรณ์เพาะถั่วงอก1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2564 ถึง 16 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 รู้จักคุณประโยชน์ของผัก ร้อยละ 70 สามารถเพาะถั่วงอกไว้บริโภคในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

กิจกรรมที่ 4 4.กิจกรรมรู้รอด ปลอดโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
4.กิจกรรมรู้รอด ปลอดโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโควิด-19 ที่ถูกต้อง กิจกรรมทำสเปรย์แอลกอฮอล์ กิจกรรมแจกหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอล์    - ค่าอาหาร      1  มื่้อๆละ 25 คนๆละ 70 บาท    เป็นเงิน  1,750  บาท    - ค่าวัสดุ/สื่อรณรงค์   2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2564 ถึง 23 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 มีความเข้าใจเรื่องโควิด 19  ที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4150.00

กิจกรรมที่ 5 5.กิจกรรมสื่อเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
5.กิจกรรมสื่อเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสื่อเรียนรู้ภายในศูนย์   - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องเขียนในการทำสื่อการเรียนรู้ 2,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สื่อเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ไม่น้อยกว่า 6 ชิ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาและกลุ่มแรงงานเยาวชนนอกระบบได้รับการดูแล
2.สามารถบรรเทาปัญหาภาวะความเครียดและการใช้เวลาอย่างมีคุณค่า
3.มีสุขลักษณะและสุขภาพจิตที่ดี


>