กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังป้องกันและควบคุมการระบาดโรคไวรัสโคโรนา(COVID – 19) ม.๓ บ้านเกาะยวน
รหัสโครงการ 64-L5313-02-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้านเกาะยวน
วันที่อนุมัติ 25 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 34,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีระสิทธื์ วาดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 34,250.00
รวมงบประมาณ 34,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ทำให้ประชาชนเกิดการตื่นตระหนกกันทั่วโลกร่วมถึงประเทศไทยด้วย พบว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มีการระบาดไปยังหลายประเทศ ทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อเเละเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจอย่างรุนเเรงสถานการณ์การเเพร่ระบาดกระจายไปยังทุกพื้นที่ เเละมีเเนวโน้มว่าอาจจะมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลจังหวัดสตูล พบว่ามีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมจำนวน 21 รายและจากการสำรวจของบัณฑิตอาสาหมู่ที่ ๓ บ้านเกาะยวนจากช่วงระบาดรอบที่ ๑ และ ๒มีผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน ๕๘ รายเห็นว่าประชาชนในพื้นที่บ้านเกาะยวน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าว ซึ่งมีจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดตรัง จังหวัดสงขลา มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และอีก 2 เดือนข้างหน้าจะมีเทศกาลฮารีรายออีดิ้ลอัฎฮา ซึ่งจะมีพี่น้องที่ เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่หมู่บ้านเพื่อประกอบพิธีในวันฮารีรายออีดิ้ลอัฎฮา รวมถึงการเยี่ยมญาติเป็นจำนวนมาก จากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังกล่าว ทางคณะกรรมการหมู่บ้านเกาะยวน จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังป้องกัน และควบคุมการระบาดโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ม.3 บ้านเกาะยวน ขึ้นเพื่อเร่งดำเนินการป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และสร้างสุขนิสัยส่วนบุคคลให้ถูกต้อง รวมถึงให้ข้อมูลที่ถูกต้องและคัดกรองภาวะเสี่ยงแก่ประชาชนในพื้นที่ช่วยลดผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่เดินทางมาในพื้นที่ ได้รับการตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้น
  • มีจุดบริการคัดกรองสุขภาพประจำวัน อย่างน้อย 1 ชุด ในหมู่บ้าน
  • ร้อยละ ๙๕ ของประชาชนที่เดินทางมาในพื้นที่ ได้รับการตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้น
0.00
2 เพื่อให้ประชาชนทุกคนที่ไปประกอบศาสนกิจในมัสยิด ได้รับการตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้นก่อนปฏิบัติศาสนกิจ

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนทุกคนที่ไปประกอบศาสนกิจในมัสยิด ได้รับการตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้นก่อนปฏิบัติศาสนกิจ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,250.00 3 34,250.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน 0 7,900.00 7,900.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดตั้งจุดคัดกรองสุขภาพ 0 18,430.00 18,430.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดตั้งจุดคัดกรองสุขภาพที่มัสยิด 0 7,920.00 7,920.00
  1. ประชุมคณะทำงานจำนวน 2 ครั้ง จำนวน 15 คน
        ครั้งที่ ๑ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ โครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงาน มอบหมายงานให้แต่ละคน
        ครั้งที่ ๒ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นโครงการพร้อมจัดทำรายงาน ๒. จัดตั้งจุดคัดกรองสุขภาพ ณ ชรบ.หมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่กลาง ที่มีคนผ่านไปมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐-๒๐.๐๐ น. โดยจะมีการซักประวัติการเดินทาง/ประเมินความเสี่ยง

- ตรวจสุขภาพด้วยวิธีการวัดอุณหภูมิร่างกาย - พูดคุยประชาสัมพันธ์ สอนวิธีการดูแลตนเองเรื่องการกำจัดทำลายเชื้อด้วยวิธีการล้างมือ ด้วยสบู่ เจลล์ แอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น
หมายเหตุ : เบิกเฉพาะอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับแกนนำที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดคัดกรองสุขภาพประชาชน
3. จัดตั้งจุดคัดกรองสุขภาพที่มัสยิดจำนวน 3 หลัง เพื่อคัดกรองคนที่มาปฏิบัติศาสนกิจทุกวันศุกร์และช่วง ละหมาด ๕ เวลา โดยทุกวันศุกร์จะมีการลงทะเบียนผู้ที่มาประกอบศาสนกิจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่เดินทางมาในพื้นที่ ได้รับการตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้น
  2. ประชาชนทุกคนที่ไปประกอบศาสนกิจในมัสยิด ได้รับการตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้นก่อนปฏิบัติศาสนกิจ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2564 00:00 น.