โครงการรวมพลังชุมชนป้องกัน โรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการรวมพลังชุมชนป้องกัน โรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L3330-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน |
วันที่อนุมัติ | 12 กรกฎาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 28 กรกฎาคม 2564 - 6 สิงหาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2564 |
งบประมาณ | 47,375.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจินดาพัฒน์ แม่ลิ่ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวาลัยพร ด้วงคง |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อ หมายถึง อาการผิดปรกติของร่างกาย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในสิ่งมีชีวิต เป็นโรคที่มีการแพร่กระจายไปสู่คน หรือสิ่งมีชีวิตได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ผ่านการสัมผัส การหายใจ การกินอาหาร และช่องทางอื่นๆ ที่เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ โรคติดต่อในประเทศไทยนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากยุงลาย เป็นพาหนะนำโรค โรคยุงลายจะพบได้เฉพาะในประเทศเขตร้อนชื้น ไข้เลือดออก เรียกย่อๆ ว่า DHF ซึ่งมาจากคำว่า Dengue hemorrhagic fever เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ( Dengue virus ) ที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค โดยลักษณะอาการคล้ายไข้ไหวัดทั่วไปในระยะแรก แต่อาการจะมีความรุนแรงมากขึ้น และหากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอบางแก้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีผู้ป่วยจำนวน 25 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 94.09 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุ ที่พบคือกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน ตำบลที่มีอัตราป่วย สูงสุดคือ ตำบลโคกสัก อัตราป่วยเท่ากับ 150.32 ต่อประชากรแสนคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนมีผู้ป่วย จำนวน 3 ราย ได้แก่หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ จำนวน 2 ราย และ หมู่ที่ 13 จำนวน 1 ราย และจากการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ปี 2563 โดยให้ อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์โรคทางกายภาพและทางเคมีควบคู่กันไปทุกวันศุกร์พบว่า ประชาชนยังขาดความตระหนัก เรื่องโรคไข้เลือดออกและจำนวนทรายอะเบทที่ได้รับการสนับสนุน ไม่เพียงพอต่อจำนวนหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ ซึ่งการใส่ทรายอะเบทจะต้องดำเนินการใส่ในภาชนะที่มีน้ำขังทุกๆ 3 เดือน ถึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้อย่างต่อเนื่อง
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทยซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายระลอกใหม่และยังไม่สามารถควบคุมได้ ตัวไวรัสCOVID - 19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และการอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง มาตการการป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค COVID-19 และการรณรงค์การฉีดวัคซีนนั้น ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อไม่ให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่ที่มีคนพลุกล่านและแออัด การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยเจลแอลกอฮออล์ สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี การไม่นำเอามือมาป้ายหรือจับหน้า และการรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนป้องกันการติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถเข้าถึงการฉีดวัคซีน และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการณรงค์ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่และการรับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดต่อ (โรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก ) ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแล และลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความรู้ เรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โรคไข้เลือดออก อย่างน้อยร้อยละ 90 |
0.00 | |
2 | เพื่อลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก จำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก ลดลง |
0.00 | |
3 | เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก ชุมชนมีแผนการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 47,375.00 | 2 | 47,375.00 | |
28 ก.ค. 64 | จัดประชุมชี้แจงโครงการ ให้ผู้นำชุมชน / อสม ทราบ | 0 | 10,100.00 | ✔ | 10,100.00 | |
4 - 6 ส.ค. 64 | จัดประชุมให้ความรู้ เรื่องโรคติดต่อแก่ ผู้นำชุมชน / อสม./ประชาชน ในหมู่บ้าน โดยจัดแบ่งเป็นรุ่น ๆละ 50 คน จำนวน 3 รุ่น | 0 | 37,275.00 | ✔ | 37,275.00 |
- ประชาชนมีความรู้ เรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19โรคไข้เลือดออก
- จำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก ลดลงวัสดุเคมีภัณฑ์ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกมีใช้อย่างเพียงพอ
- มีภาคีเครือข่ายในชุมชน ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคโควิด – 19 , โรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2564 18:00 น.